ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก นางสาวศศิธร จูลจันโท สาขาการพํฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ขอขอบคุณที่เข้ามาร่วมชมค่ะ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

การเลิกสูบบุหรี่ หากสามารถกระทำได้ ร่างกายจะเริ่มปรับตัวในทางที่ดีขึ้นทันที

                  ภายใน 24 - 48 ชั่วโมง ความดันโลหิตและชีพจรของร่างกายจะปรับสภาพสู่ระดับปกติ ด้วยนิโคตินที่เคยอยู่ในกระแสเลือด รวมทั้งคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จับแน่นอยู่กับเม็ดเลือดแดง จะถูกขับออกไปจากร่างกาย

ภายใน 48 ชั่วโมง ความรู้สึกสดชื่นจะบังเกิดขึ้น เพราะร่างกายไม่มีนิโคตินอันใหม่เข้าไปในร่างกาย ปอดจะเริ่มขจัดเสมหะและสิ่งสกปรกต่างๆ ออกไปจากร่างกาย

ภายใน 72 ชั่วโมง การรับประทานอาหารจะอร่อยขึ้น เพราะตุ่มรับรสที่ลิ้นทำงานได้ดีขึ้น ความรู้สึกเรื่องรสชาติและกลิ่นจะกลับคืนมา นอกจากนั้นกลิ่นตัวของตนก็จะปลอดจากกลิ่นบุหรี่มวนใหม่ด้วย

ภายใน 96 ชั่วโมง ความรู้สึกสงบและสบายตัวจะบังเกิดขึ้น เพราะอาการอยากบุหรี่จะลดลงไปมาก

ภายใน 3 สัปดาห์ การออกกำลังกายจะสามารถกระทำได้มากขึ้น เพราะปอดจะดีขึ้น จะไม่รู้สึกเหนื่อยง่าย และอาการไอจะลดลงเรื่อยๆ

ภายใน 2 เดือน ร่างกายจะมีกำลังแข็งแรงมากขึ้น จะสามารถยกของหนักและอึดมากขึ้น เพราะเลือดสามารถไหลเวียนไปสู่แขนขาได้ดีขึ้น

ภายใน 3 เดือน ร่างกายจะสูดลมหายใจได้เต็มปอดขึ้น เพราะระบบการขจัดสิ่งสกปรกในปอด จะทำงานได้เป็นปกติ ไอน้อยลงมาก การหายใจดีขึ้น ...สำหรับผู้ชาย ในช่วงนี้เชื้ออสุจิจะกลับเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติ และจำนวนเชื้ออสุจิก็เพิ่มขึ้นด้วย

ภายใน 5 ปี สุขภาพโดยรวมจะดีขึ้น …อัตราเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจขาดเลือด จะลดลง เท่ากับครึ่งหนึ่งของคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่

ภายใน 10-15 ปี อัตราเสี่ยงต่อการป่วยจะลดลง โดยเฉพาะโรคร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากพิษภัยของบุหรี่ เช่น มะเร็งปอด
 
   เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ไทยจัดได้ว่ามีมาตรการคุมบุหรี่ไม่ด้อยกว่าประเทศอื่น อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา ห้ามติดฉลากประเภทของบุหรี่ รสอ่อน หรือไมล์ด (mild) รสเบา หรือไลท์ (light) และต้องระบุผลกระทบด้านสุขภาพ ส่วนอังกฤษ ยังอยู่ระหว่างการต่อสู้เพื่อให้ป้ายรถโดยสารประจำทางเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 ยาเส้นก็เข้าข่ายยาสูบที่รัฐต้องควบคุมเช่นกัน
 
    มาตรการที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกเป็นประกาศกระทรวงใช้ควบคุมบุหรี่มีถึง ฉบับ สาระสำคัญ ฉบับ เกี่ยวเนื่องกับการกำหนดให้บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ที่ผลิต หรือนำเข้าในไทย ต้องแสดงฉลากเป็นรูปคำเตือนถึงพิษภัยบุหรี่ ใจหลักเป็นการเพิ่มภาพคำเตือนข้างซองจาก 6 ภาพ เป็น ภาพ
อีกฉบับเป็นการประกาศพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มเติม เช่น ป้ายรอรถโดยสารประจำทาง อาคารโรงมหรสพ และตู้โทรศัพท์สาธารณะ หรือบริเวณที่ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
 
     ตั้งแต่ พ.ศ.2535 ที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ มีผลบังคับใช้ มาตรการที่ดำเนินการแล้ว เช่น การห้ามโฆษณาบุหรี่ทุกรูปแบบ การกำหนดสถานที่ปลอดบุหรี่เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ การห้ามขายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และการห้ามแสดงบุหรี่ ณ จุดขาย ส่งผลให้ยอดขายบุหรี่ลดลงถึง 20% นับแต่เดือนกันยายน 2549
    รวมถึงมาตรการด้านภาษี ที่ปัจจุบันบริษัทบุหรี่ต้องเสียภาษีตามมูลค่าเกือบเต็มเพดาน อยู่ที่ 79% และมีการพยายามผลักดันให้มีการเก็บภาษีตามปริมาณ คือ กำหนดว่า มวนต้องเสียภาษีเท่าไร ขณะที่ยาเส้นเสียภาษีตามมูลค่า 0.1% และเสียภาษีตามปริมาณ 0.01 บาทต่อสิบกรัม
 
เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ไทยจัดได้ว่ามีมาตรการคุมบุหรี่ไม่ด้อยกว่าประเทศอื่น อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา ห้ามติดฉลากประเภทของบุหรี่ รสอ่อน หรือไมล์ด (mild) รสเบา หรือไลท์ (light) และต้องระบุผลกระทบด้านสุขภาพ ส่วนอังกฤษ ยังอยู่ระหว่างการต่อสู้เพื่อให้ป้ายรถโดยสารประจำทางเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 ยาเส้นก็เข้าข่ายยาสูบที่รัฐต้องควบคุมเช่นกัน
 
 
ไม่ว่าจะเป็นยาสูบชนิดไหน ทั้งบุหรี่ซิกาแรต ซิการ์ และยาเส้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูบและคนใกล้ชิดทั้งสิ้น  เมื่อเป็นเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมบุหรี่อย่างเข้มงวด


ที่มา  http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/disease/cigarette2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นกันเยอะๆนะคะ