ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก นางสาวศศิธร จูลจันโท สาขาการพํฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ขอขอบคุณที่เข้ามาร่วมชมค่ะ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อท่านต้องการจะเลิกสูบบุหรี

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อท่านต้องการจะเลิกสูบบุหรี่
1. มีความตั้งใจแน่วแน่ว่าต้องการเลิกสูบบุหรี่ ด้วยตัวเอง
2. กำหนดวัน “ปลอดบุหรี่” ของตัวเอง อาจเป็นวันเกิดของตัวเอง ของคู่ครอง ของลูก ของคุณพ่อของคุณแม่ หรือเป็นวันสำคัญของชาติ หรือเป็นวันสำคัญของศาสนา ...แต่ทั้งนี้วันที่กำหนด ควรเลือกเป็นช่วงเวลาที่ตนเองไม่มีอารมณ์เครียดต่อสิ่งใดมากเป็นพิเศษ
3. ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์การสูบไปเลย ไม่ให้มีหลงเหลืออยู่ที่ใดแม้แต่ที่เดียว ทั้งซองบุหรี่ กล่องบุหรี่ ไฟแช๊ค ที่เขี่ยบุหรี่ และควรอยู่ห่างๆเพื่อนหรือญาติที่สูบบุหรี่ด้วย ..หากมีความจำเป็นจะต้องติดต่อ ช่วงนั้นก็ควรใช้มือถือโทร.เอา
4. แจ้งให้คนในครอบครัว ทั้งลูก พ่อแม่ พี่น้อง ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา รวมทั้งคนในหน่วยงาน ทั้งนายจ้าง เพื่อนร่วมงาน และรวมทั้งเพื่อนสนิททุกคนทราบ เพื่อให้ทุกคนคอยพูดให้กำลังใจ หรือพูดดุด่า สบประมาท หรือคอยร้องห้ามตลอดเวลา
5. รับประทานอาหารต่อมื้อ อย่าให้อิ่มมากนัก ควรรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ให้มากกว่าเดิม ช่วงนี้ควรงดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ไม่ควรนั่งที่โต๊ะอาหารนานๆ ไม่ควรลงว่ายน้ำในสระหรือในทะเลนานๆ เพราะหลังจากรับประทานอาหารอิ่ม ความเคยชินจะทำให้อยากสูบบุหรี่ และหลังจากขึ้นจากสระว่ายน้ำหรือขึ้นจากทะเล ตอนที่ตัวเย็นๆ ความเคยชินจะทำให้อยากสูบบุหรี่
6. ในช่วงแรกของการเลิกสูบบุหรี่ ทุกคนจะรู้สึกหงุดหงิด อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นกันทุกคน ควรเตือนตนเองอยู่เสมอว่า “เราไม่สูบบุหรี่แล้ว” ควรจะประวิงเวลาของการสูบบุหรี่ไปเรื่อยๆ และควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ ทานของเปรี้ยวๆ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อลดความอยากสูบบุหรี่
7. ออกกำลังกายให้เหงื่อออกบ่อยๆ หรือทำงานอย่าให้มือและสมองอยู่ว่าง หรืออาจทำในสิ่งที่ตนเองชอบในช่วงนั้น เพื่อจะได้ลดความอยากสูบบุหรี่ ..บางคนที่ใช้วิธีรับประทานอาหารน้อยๆแต่บ่อยๆแทนนั้น เพื่อหวังจะให้น้ำลายและน้ำย่อยทำงาน ซึ่งก็อาจจะทำได้ แต่การรับประทานอาหารบ่อยๆโดยไม่ออกกำลังกาย มักจะทำให้ผู้เลิกสูบบุหรี่ มีร่างกายอ้วน
8. บางคนอาจจะต้องการอยู่ภายใต้การบังคับดูแลของแพทย์และพยาบาล ซึ่งก็สามารถทำได้ สำหรับคนที่จิตใจไม่แข็งพอ

    มีข้อมูลเพิ่มเติม ร้อยละ 80 ของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ จะเลิกได้ด้วยตัวเอง และผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ ส่วนใหญ่ใช้วิธีไม่สูบบุหรี่เลย (หักดิบ) ...แต่ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่โดยใช้วิธีค่อยๆลดจำนวนมวนที่สูบลง ส่วนใหญ่จะไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้

   การเลิกสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะสูบบุหรี่มานานเท่าใด ไม่ว่าผู้เลิกสูบบุหรี่จะมีอายุมากเท่าไร การเลิกสูบบุหรี่ทันทีจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถึงขนาดเจ็บป่วย จะมีก็แต่อาการหงุดหงิดกระวนกระวายอยากจะสูบบุหรี่


ที่มา http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/disease/cigarette2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นกันเยอะๆนะคะ