ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก นางสาวศศิธร จูลจันโท สาขาการพํฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ขอขอบคุณที่เข้ามาร่วมชมค่ะ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

บุหรี่ ติดง่าย เลิกยาก (โหน่ง)



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=1ULOvIiQ1kY

ดูกันชัดๆระหว่างการทำงานของปอดที่สูบบุหรี่กับไม่สูบ



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=0w2Syv8Y81s&NR=1&feature=endscreen

บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขต่อบุหรี่


         เมื่่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2548 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เริ่มบังคับใช้กฎเกณฑ์ห้ามตั้งแสดงซองบุหรี่ตามร้านค้าปลีก โดยร้านค้าปลีกใดที่มีบุหรี่จำหน่าย ให้ติดกระดาษขนาด A4 เขียนข้อความไว้ว่า "ที่นี่มีบุหรี่ขาย" เพราะถือเป็นการโฆษณาสินค้าบุหรี่ ณ จุดขาย หากร้านค้าปลีกใดละเมิด จะมีความผิดมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535
 

ผลต่อสุขภาพ

การสูบบุหรี่และยาสูบอื่น ๆ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งปอด (ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่) นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของโรคปอดอื่น ๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง (en:emphysema) หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และเด็กที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสของอาการหัวใจวาย และโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ผู้สูบบุหรี่อาจดูแก่กว่าปกติเนื่องจากควันบุหรี่จะเพิ่มรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง เนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม ดังนั้นอาจส่งผลให้ผู้สูบมีน้ำหนักลดลง [ต้องการอ้างอิง]
นิโคติน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาท (en:stimulant) ในบุหรี่นั้น มีผลเป็นสารเสพติด (en:addictive) และลดการอยากอาหาร (en:appetite suppressant) ผู้ที่เลิกการสูบบุหรี่มักจะทดแทนอาการอยากบุหรี่ด้วยการกินขนม ซึ่งส่งผลให้หนึ่งในสามของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นนิโคตินยังอาจเป็นสารพิษ หากเด็กหรือสัตว์รับประทานก้นบุหรี่โดยอุบัติเหตุ
โอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดจากการสูบควันนั้นไม่แน่นอน ขึ้นกับลักษณะของการสูบ สารที่สูบ และความถี่ จากสถิติพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสจะเป็นโรคมะเร็งปอดประมาณ 11-17% [1] หรือ 10-20 เท่าของคนที่ไม่สูบ   การสูดสารพิษและสารก่อมะเร็งจากควันบุหรี่ เช่น เรดอนและเรเดียม-226 เชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็ง ไร่ยาสูบในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี เนื่องจากการใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณฟอสเฟตสูง

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88

สารเคมีในบุหรี่


ไส้บุหรี่นั้น ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมี และมีการเพิ่มสารอื่น ๆ ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งในจำนวนนั้นมีสารเคมีจำนวนมากที่เป็นสารพิษ สารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (en:mutagenic) และสารก่อมะเร็ง (en:carcinogen) สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบได้แก่
อะซีโตน (Acetone)
อะลูมิเนียม (Aluminiam)
แอมโมเนีย (Ammonia)
สารหนู (Arsenic)
เบนซีน (Benzene)
บิวเทน (Butane)
แคดเมียม (Cadmium)
คาเฟอีน (Caffeine)
คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)
คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide)
คลอโรฟอร์ม (Chloroform)
ทองแดง (Copper)
ไซยาไนด์/ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Cyanide/Hydrogen cyanide)
ดีดีที/ดีลดริน (DDT/Dieldrin)
เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethenol)
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)
ตะกั่ว (Lead)
แมกนีเซียม (Magnesium)
มีเทน (Methane)
เมทิลแอลกอฮอล์ (Methanol)
ปรอท (Mercury)
นิโคตีน (Nicotine)
พอโลเนียม (Polonium)
ทาร์ (Tar)
ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride)
โพแทสเซียมไนเตรต (Potassium nitrate)

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88

บุหรี่

   บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ (ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา (en:marijuana)
บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน

ประโยชน์ของการเลิกบุหรี


  1. การหยุดสูบบุหรี่เป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก และเป็นผลดีที่เกิดทันทีที่เลิกบุหรี่ทั้งในเพศชายและหญิง ไม่ว่าจะป่วยจากโรคจากการสูบบุหรี่แล้วหรือไม่ก็ตาม
  2. ผู้ที่เลิกบุหรี่จะมีอายุยาวกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปโดยผู้ที่เลิกบุหรี่ก่อนอายุ 50 ปี จะมีโอกาสเสียชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ยังสูบต่อ
  3. การเลิกบุหรี่จะลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งระบบอื่นๆหัวใจวายกะทันหัน เส้นเลือดสมองตีบตันกะทันหัน โรคถุงลมโป่งพองและโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ
  4. ผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนตั้งครรภ์หรือระหว่าง 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์จะลดความเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
  5. ผลดีต่อสุขภาพจากการหยุดสูบบุหรี่มีมาก น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.3กิโลกรัม
  6. ความเสียงของการเสียชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดสูบบุหรี่
การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งทางเดินหายใจ
  1. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งปอดเมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป โดยพบว่าหลังหยุดสูบบุหรี่ 10ปี ความเสียงของการเกิดมะเร็งปอดจะเท่ากับร้อยละ30-50ของผู้ที่ยังสูบต่อไป
  2. การลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ พบทั้งชายและหญิง ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ก้นกรอง
  3. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งที่คอ และกล่องเสียง
  4. การหยุดสูบบุหรี่ ลดความผิดปกติที่จะกลายเป็นมะเร็งระยะแรกของเยื่อบุลำคอ กล่องเสียงและปอด
การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งระบบอื่นๆ
  1. หลังจากหยุดสูบบุหรี่ 5 ปี อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งช่องปากและหลอดอาหารส่วนต้นจะลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับคนที่สูบต่อ และอัตราเสี่ยงยังคงลดลงต่อไปหลังจากหยุดสูบเกิน 5 ปี
  2. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งตับอ่อน การลดนี้จะพบเมื่อหยุดบุหรี่มากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  3. อัตราเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมากในหญิงที่เลิกบุหรี่ แม้ว่าจะหยุดเพียง 2-3 ปี
การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบลงได้ครึ่งหนึ่งหลังจากหยุดสูบได้ 1 ปีและจะลดลงอย่างช้าๆต่อไป หลังจากหยุด 15 ปีความเสี่ยงจะเหมือนผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่
  2. ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเส้นเลือดหัวใจตีบ การหยุดสูบบุหรี่ การหยุดบุหรี่จะลดโอกาสของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโอกาสการเสียชีวิตกะทันหันอย่างมาก รายงานการวิจัยพบว่าโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลดลงถึงร้อยละ 50
  3. การหยุดสูบบุหรี่จะลดโอกาสการตีบตันของหลอดเลือดส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่นเส้นเลือดตีบตันที่ขา
  4. การหยุดสูบบุหรี่ลดความเสี่ยงของการเกิดลมปัจจุบันจากเส้นเลือดสมองตีบและแตก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ภายในเวลา 5 ปีแต่บางรายอาจต้องใช้เวลาถึง 15 ปีความเสียงจึงลดลงเหมือนผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
การหยุดสูบบุหรี่กับโรคปอดชนิดอื่นๆ
  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอาการไอ ลดจำนวนเสมหะ ลดอาการหายใจเสียงหวีด ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวม
  2. ในผู้ที่ยังไม่เป็นถุงลมโป่งพอง การหยุดสูบบุหรี่จะทำให้สมรรถภาพปอดดีขึ้นร้อยละ5ภายใน2-3เดือนหลังเลิกบุหรี่
  3. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร อัตราการเสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพองลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่สูบต่อ
การหยุดสูบบุหรี่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
  1. น้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.3 กิโลกรัมซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีเพียงร้อยละ 3.5ที่น้ำหนักเพิ่มกว่า 9 กิโลกรัม สาเหตุที่เพิ่มเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป
  2. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดไขมัน อาหารทอดจะทำให้คุมน้ำหนักได้
การหยุดสูบบุหรี่และการเจริญพันธุ์
  1. หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์จะให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักใกล้เคียงเด็กปกติ
  2. ถึงแม้จะมีการลดจำนวนบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ บุตรที่คลอดออกมาก็จะมีน้ำหนักตัวน้อยเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ลดจำนวนบุหรี่ลง
  3. การสูบบุหรี่จะทำให้ประจำเดือนหมดเร็วขึ้น 1-2 ปี
  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบลงได้ครึ่งหนึ่งหลังจากหยุดสูบได้ 1 ปีและจะลดลงอย่างช้าๆต่อไป หลังจากหยุด 15 ปีความเสี่ยงจะเหมือนผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่
  2. ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเส้นเลือดหัวใจตีบ การหยุดสูบบุหรี่ การหยุดบุหรี่จะลดโอกาสของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโอกาสการเสียชีวิตกะทันหันอย่างมาก รายงานการวิจัยพบว่าโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลดลงถึงร้อยละ 50
  3. การหยุดสูบบุหรี่จะลดโอกาสการตีบตันของหลอดเลือดส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่นเส้นเลือดตีบตันที่ขา
  4. การหยุดสูบบุหรี่ลดความเสี่ยงของการเกิดลมปัจจุบันจากเส้นเลือดสมองตีบและแตก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ภายในเวลา 5 ปีแต่บางรายอาจต้องใช้เวลาถึง 15 ปีความเสียงจึงลดลงเหมือนผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
การหยุดสูบบุหรี่กับโรคปอดชนิดอื่นๆ
  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอาการไอ ลดจำนวนเสมหะ ลดอาการหายใจเสียงหวีด ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวม
  2. ในผู้ที่ยังไม่เป็นถุงลมโป่งพอง การหยุดสูบบุหรี่จะทำให้สมรรถภาพปอดดีขึ้นร้อยละ5ภายใน2-3เดือนหลังเลิกบุหรี่
  3. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร อัตราการเสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพองลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่สูบต่อ
การหยุดสูบบุหรี่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
  1. น้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.3 กิโลกรัมซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีเพียงร้อยละ 3.5ที่น้ำหนักเพิ่มกว่า 9 กิโลกรัม สาเหตุที่เพิ่มเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป
  2. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดไขมัน อาหารทอดจะทำให้คุมน้ำหนักได้
การหยุดสูบบุหรี่และการเจริญพันธุ์
  1. หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์จะให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักใกล้เคียงเด็กปกติ
  2. ถึงแม้จะมีการลดจำนวนบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ บุตรที่คลอดออกมาก็จะมีน้ำหนักตัวน้อยเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ลดจำนวนบุหรี่ลง
  3. การสูบบุหรี่จะทำให้ประจำเดือนหมดเร็วขึ้น 1-2 ปี
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและพฤติกรรมหลังการหยุดสูบบุหรี่
  1. ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่มักจะมีความกังวล หงุดหงิดอารมณ์ร้อน โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ อยากอาหารมาก มีความอยากสูบบุหรี่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้จะหายไปในระยะเวลาอันสั้น แต่ความรู้สึกอยากบุหรี่และความรู้สึกว่ารสชาติอาหารดีขึ้นจะยังคงอยู่ต่อไประยะหนึ่ง
  2. ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่ สมรรถภาพของการทำงานง่ายๆหลายชนิดที่ต้องใช้สมาธิจะลดลงเป็นเวลาสั้นๆ แต่ไม่พบความผิดปกติของความจำ และความสามารถในการเรียนรู้ และการทำงานที่ใช้ความสามารถสูงๆอื่นๆภายหลังสูบบุหรี่
  3. เมื่อเทียบระหว่างผู้ที่ยังสูบบุหรี่กับผู้ที่หยุดแล้ว พบว่าผู้ที่หยุดสูบมีความมั่นใจในตัวเองสูงกว่า และควบคุมตัวเองได้ดีกว่า
  4. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่แล้วมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคอื่นๆมากกว่าผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อไป
   ที่มา  http://www.siamhealth.net/public_html/Health/smoking/useful.htm