ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก นางสาวศศิธร จูลจันโท สาขาการพํฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ขอขอบคุณที่เข้ามาร่วมชมค่ะ

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของบุหรี่

                  ประวัติความเป็นมาของบุหรี่
           ชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ได้เริ่มต้นใช้ยาสูบเป็นพวกแรก โดยปลูกยาสูบเพื่อใช้เป็นยาและนำมาสูบในพิธีกรรมต่างๆ ใน พ.ศ. ๒๐๓๕ เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินเรือไปขึ้นฝั่งที่ซันซัลวาดอร์ ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส์นั้น ได้เห็นชาวพื้นเมืองนำเอาใบไม้ชนิดหนึ่งมามวนและจุดไฟตอนปลายแล้วดูดควัน ต่อมา พ.ศ. ๒๐๙๑ มีการปลูกยาสูบในบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในทวีปอเมริกาใต้ เพื่อเป็นสินค้าส่งออก เป็นผลให้ยาสูบแพร่หลายเข้าไปในประเทศโปรตุเกสและสเปนตามลำดับ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๑๐๓ นายฌอง นิโกต์ (Jean Nicot) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศโปรตุเกส ได้ส่งเมล็ดยาสูบมายังราชสำนักฝรั่งเศส ชื่อของนายนิโกต์จึงเป็นที่มาของชื่อสารนิโคติน (Nicotin) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๒๑๐๗ เซอร์จอห์น ฮอคกินส์ (Sir John Hawkins) ได้นำยาสูบเข้าไปในประเทศอังกฤษ และใน พ.ศ. ๒๑๕๕ นายจอห์น รอลฟ์ (John Rolfe) ชาวอังกฤษ ประสบผลสำเร็จในการปลูกยาสูบเชิงพาณิชย์ เป็นครั้งแรก และ ๗ ปีต่อมา ก็ได้ส่งออกผลผลิตไปยังประเทศอาณานิคมเป็นจำนวนมหาศาล  อีก ๒๐๐ ปีต่อมา การทำไร่ยาสูบเชิงพาณิชย์จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก
                 การสูบบุหรี่ในประเทศไทย
           ในประเทศไทยมีการใช้ยาสูบตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว โดยมีหลักฐานจากจดหมายเหตุของ เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur De La Loub�re) อัครราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางมาเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ได้เขียนเล่าเรื่องประเทศสยามว่า คนไทยชอบใช้ยาสูบอย่างฉุนทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยได้ยาสูบมาจากเมืองมะนิลา ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ จากประเทศจีน และที่ปลูกในประเทศเอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ได้ทรงประดิษฐ์บุหรี่ก้นป้านขึ้น เพื่อสูบควันและอมยากับหมากพร้อมกัน ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการผลิตบุหรี่ขึ้นโดยบริษัทที่มีชาวอังกฤษ เป็นเจ้าของได้เปิดดำเนินการเป็นบริษัทแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๐ การผลิตบุหรี่ในระยะแรกจะมวนด้วยมือ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำเครื่องจักรเข้ามาจากประเทศเยอรมนี และทำการผลิตบุหรี่ออกมาจำหน่ายหลายยี่ห้อ การสูบบุหรี่จึงแพร่หลายมากขึ้น จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๔๘๒ รัฐบาลได้จัดตั้งโรงงานยาสูบขึ้น โดยซื้อกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนบูรพายาสูบ จำกัด (สะพานเหลือง) ถนนพระราม ๔ กรุงเทพฯ และดำเนินกิจการอุตสาหกรรมยาสูบภายใต้การควบคุมของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง หลังจากนั้น รัฐบาลได้ซื้อกิจการของบริษัทกวางฮก บริษัทฮอฟฟัน และบริษัทบริติชอเมริกันโทแบกโคเพิ่มขึ้น แล้วรวมกิจการทั้งหมดเข้าด้วยกัน และดำเนินการภายใต้ชื่อว่า โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มาจนถึงปัจจุบัน
ชนิดของยาสูบ

          ยาสูบที่ใช้กันอยู่มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสูด แบบดม แบบอมและเคี้ยว
          - แบบสูด โดยกระทำให้เกิดการเผาไหม้ใบยาสูบซึ่งอยู่ในรูปของบุหรี่ หรือซิการ์ (cigar) ที่ใช้ใบยาสูบมวนผงใบยาสูบอยู่ภายใน หรือไปป์ (pipe) ที่บรรจุใบยาไว้ในกล้องยาสูบ แล้วจุดไฟให้เกิดการเผาไหม้ แล้วผู้สูบสูดควันเข้าสู่ร่างกาย
         - แบบดม โดยบดใบยาสูบให้ละเอียด แล้วผสมในรูปของยานัตถุ์      
         - แบบอมและเคี้ยว โดยนำใบยาสูบแห้งมาหั่นเป็นฝอย นำมาเคี้ยวแล้วอมอยู่ระหว่างริมฝีปากกับเหงือก บางครั้งเรียกว่า บุหรี่ไร้ควัน

           ยาสูบส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีเพื่อปรุงแต่งกลิ่นรส และเพื่อลดความระคายเคือง บุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานจะใช้สารเคมีปรุงแต่งมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีสารเคมีที่ใช้ในการรักษาความชื้นของใบยาสูบ และสารป้องกันเชื้อรา เพื่อให้เก็บบุหรี่ได้นาน รวมทั้งสารเคมีที่ใช้ในการรักษาสภาพกระดาษที่ใช้มวนบุหรี่อีกด้วย
ชนิดของบุหรี่
           บุหรี่มี ๒ ชนิดคือ บุหรี่ที่มวนเอง และบุหรี่ที่ผลิตโดยเครื่องจักร บุหรี่ที่มวนเอง ทำโดยใช้ใบตองแห้ง ใบบัว หรือกระดาษ ที่ใช้มวนห่อใบยาสูบ บุหรี่ชนิดนี้จะดับง่ายเนื่องจากไม่มีการปรุงแต่งสารเคมีที่ช่วยให้ไฟติดทน สำหรับบุหรี่ที่ผลิตโดยเครื่องจักรมี ๒ ชนิด คือ บุหรี่ที่ไม่มีก้นกรอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุหรี่ราคาถูก และ บุหรี่ที่มีก้นกรอง นอกจากนี้ บริษัทบุหรี่ยังผลิตบุหรี่ ชนิดที่เรียกว่า "ไลต์" และ "ไมลด์" โดยระบุไว้ว่าเป็นบุหรี่ชนิดรสอ่อนที่มีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา แต่จากการวิจัยพบว่า บุหรี่ทั้ง ๒ ชนิดมิได้มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาแต่อย่างใด เพียงแต่ต่างกันที่รสชาติเท่านั้น และบุหรี่ชนิดที่มีก้นกรองจะสามารถกรองละอองสารที่มีขนาดใหญ่ได้บางชนิดเท่านั้น โดยสารทาร์และนิโคตินซึ่งมีขนาดเล็กยังคงผ่านเข้าไปได้ในปริมาณเดียวกับการสูบบุรี่ที่ไม่มีก้นกรอง





ที่มา  guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q

บุหรี่

บุหรี่
 
บุหรี่ มีสารต่างๆ หลายชนิด แต่สารสำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติดคือ นิโคติน เป็นสารแอลคะลอยด์ที่ไม่มีสี นิโคติน 30 มิลลิกรัมสามารถทำให้คนตายได้ บุหรี่ธรรมดามวนหนึ่งจะมีนิโคตินอยู่ราว 15-20 มิลลิกรัม ก็คือจำนวนนิโคตินในบุหรี่ 2 มวน สามารถทำให้คนตายได้ในทันที แต่การที่สูบบุหรี่ติดต่อกันหลายมวนแล้วไม่ตาย ก็เพราะว่ามีนิโคตินในควันบุหรี่ เป็นส่วนน้อยที่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูบ

สาเหตุของการติดบุหรี่
1 ) ทำตามเพื่อน เพราะเห็นเพื่อน ๆ บางคนสูบโดยอ้างว่าเพื่อจะเข้าสังคมกับเพื่อนได้
2) สภาพแวดล้อมภายในครอบครัวชักนำ เกิดจากสมาชิกบางคนในครอบครัวสูบบุหรี่ เช่น พ่อ แม่ ลุง น้า จึงต้องการเอาอย่างบ้าง 3 ความอยากทดลอง เพราะอยากรู้อยากเห็น
4ื ) ยึดถือค่านิยมผิด ๆ คิดว่าการสูบบุหรี่เป็นการโก้เก๋ หรือเป็นลูกผู้ชาย
5 ) อิทธิพลจากการโฆษณาของสื่อมวลชน ทั้งจากภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
6) ความเชื้อที่ผิดๆ เช่น เชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่จะทำให้สมองปลอดโปร่ง จิตใจเเจ่มใสและไม่ง่วงนอน เป็นต้น

 พิษจากควันบุหรี่
1 . นิโคติน ( Nicotine ) เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ และเป็นสารที่รุนแรงมากที่สุดอย่างหนึ่ง ละลายน้ำได้ดี ไม่มีสี ถ้าสูบบุหรี่ 1 มวน ร่างกายจะได้รับนิโคตินในควันบุหรี่ 0.2 - 2 มิลลิกรัม หากมีอยู่ในร่างกายถึง 70 มิลลิกรัม จะทำให้ถึงแก่ความตายได้ มีผู้ทดลองนำนิโคตินบริสุทธิ์ เพียง 1 หยด ป้ายลงบนผิวหนังกระต่าย มีผลทำให้กระต่ายตัวนั้นช็อกอย่างรุนแรงและถึงแก่ความตาย แม้จะไม่ได้เข้าสู่ภายในร่างกายทางปากหรือทางลมหายใจ
นิโคติน จะทำให้ไขมันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง ทำให้ความดันสูง หัวใจเต้นเร็วทำลายเนื้อปอดและถุงลมปอดอีกด้วย
2 . ทาร์ ( Tar ) เป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ จะทำลายถุงลมปอดทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง หอบเหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งบริเวณเนื้อเยื่อที่สัมผัสกับสารนี้ ขณะสูบบุหรี่ ทาร์จะตกค้างอยู่ในปอด หลอดลมใหญ่ และหลอดลมเล็ก ประมาณร้อยละ 90 จะขับออกมาพร้อมลมหายใจเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ดังนั้น ทาร์ จึงเป็นตัวการทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานมากก่อนเสียชีวิต ในบุหรี่ 1 มวน มีทาร์ในปริมาณต่างกันตั้งแต่ 2.0 มิลลิกรัม จนถึง 3.0 มิลลิกรัม แล้วแต่ชนิดของบุหรี่




 โทษของบุหรี่
1 . โรคมะเร็ง ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มะเร็งที่ปาก ที่ลิ้น ที่กล่องเสียง แต่ที่เป็นมากที่สุดคือ มะเร็งปอด สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา และกระทรวงสาธารณสุขแห่งสหรัฐอเมริกาได้รายงานผลวิจัย เมื่อ พ.ศ. 2521 ว่าผู้ที่สูบบุหรี่จัด มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า
2 . โรคทางเดินหายใจ ผู้สูบบุหรี่จัดมีอาการไอเรื้อรัง บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้ แต่เมื่อหยุดสูบอาการจะบรรเทาและหายไปในที่สุด นอกจากนี้ทาร์ในควันบุหรี่จะสะสมอยู่ในปอด วันละเล็กวันละน้อย จนในที่สุดถุงลมปอดโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ มีผลทำให้ปอดไม่สามารถแรกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนได้มากเท่าเดิมจึงทำให้หายใจขัด หอบ และหากเป็นเรื้อรังอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ง่ายเช่นเดียวกันนอกจากนี้ยังพบว่าการสูบบุหรี่ทำให้เป็นโรคอื่นได้อีกหลายอย่าง เช่น โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคความดันเลือดสูง โรคตับแข็ง โรคปริทนต์ โรคโพรงกระดูกอักเสบ เป็นต้น และยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของผู้สูบบุหรี่อีกด้วย


 ข้อดีของการเลิกบุหรี่
1 . สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น
2 . อายุยืน
3 . การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
4 . การทำงานของประสาทในการรับรส และกลิ่นดีขึ้น
5 . อาการไอ และเสมหะลดลง
6 . สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น
7 . ปอดทำงานได้ดีขึ้น
8 . ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น
ที่มา

http://dpc9.ddc.moph.go.th/group/ncd/TOBAC%2520ALC/bure.htm

บุหรี่ไม่ตายแต่ทรมาน