ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก นางสาวศศิธร จูลจันโท สาขาการพํฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ขอขอบคุณที่เข้ามาร่วมชมค่ะ

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โอ๊ะโอ!!!!!!!!!.เด็ก 2 ขวบติดบุหรี่......

จริงหรือไม่....??? คนไทยกำลังตกเป็นทาสของบุหรี่!!!!!

          บุหรี่เป็นสิ่งที่ไม่ดีก่อให้เกิดโทษหลายอย่าง การสูบบุหรี่และยาสูบ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทีเราสามารถป้องกันได้ การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งปอด(ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่) นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของโรคปอดอื่น ๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง  หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ผู้สูบบุหรี่อาจดูแก่กว่าปกติเนื่องจากควันบุหรี่จะเพิ่มรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง
           ปัจจุบันพบว่าคนไทยมีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการทั้งเรื่องของเพศ วัย อายุ และเศรษฐกิจที่ผันผวน และยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้คนสูบบุหรี่เกิดจากความอยากลอง เยาวชนที่สูบบุหรี่ร้อยละ 38.4 เริ่มสูบบุหรี่เพราะความอยากลอง ซึ่งเป็นธรรมชาติของวัยรุ่นที่มีความอยากลองเป็นเรื่องที่ท้าทาย น่าตื่นเต้น และสนุกสนาน ถึงแม้จะทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ตาม และสำหรับวัยรุ่นเพื่อนเป็นคนที่สำคัญมากคนหนึ่งทำให้วัยรุ่นส่วนมากชอบ ตามอย่างเพื่อน เยาวชนที่สูบบุหรี่ร้อยละ 35.9 เริ่มสูบบุหรี่เพราะเพื่อนชวน บางคนมีทัศนะคติที่ว่า ถ้าไม่สูบบุหรี่จะเข้ากับเพื่อนไม่ได้ เพื่อนจะไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม และหลายคนไม่กล้าเลิกสูบบุหรี่ เพราะกลัวเพื่อนจะล้อเลียน และไม่ให้เข้ากลุ่ม พฤติกรรมการสูบบุหรี่สาเหตุอีกอย่างหนึ่งก็มาจากคนในบ้าน เมื่อมีคนในบ้านไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดา หรือญาติพี่น้อง ซึ่งอยู่บ้านเดียวกันสูบบุหรี่ หลายคนจะสูบบุหรี่ เพราะเห็นการสูบในบ้านมาแต่เด็กจึงคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา  ส่วนผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยทำงานหรือหัวหน้าครอบครัวที่สูบบุหรี่เนื่องจากเพื่อเข้าสังคม บางคนต้องสูบบุหรี่เพราะหน้าที่การงานที่ต้องเข้าสังคม งานเลี้ยงสังสรรค์หรืองานเลี้ยงรับรอง ซึ่งมีผู้สูบ ในสังคมนั้นๆ เชิญชวนให้สูบ บางคนจะสูบเฉพาะในงานสังคมเท่านั้น นอกจากนี้คนที่สูบบุหรี่เพราะความเครียดส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยทำงาน งานกรรมกร งานขับรถส่งสินค้าไกลๆและคนที่ชอบเล่นกีฬาหนัก คนที่ชอบวิตกกังวล คิดมากบุคคลประเภทนี้ก็จะมีความเชื่อว่าสูบบุหรี่แล้วจะทำให้หายเครียดเนื่องจากบุหรี่มีสารนิโคตินในควันบุหรี่เมื่อสูดเข้าร่างกายจะเข้าสู่สมองภายในเวลา 8-10 วินาที ซึ่งออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดแดงหดรัดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น หายใจเร็วขึ้น และกระตุ้นสมองส่วนกลางทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ในระยะต้น หลายคนจึงสูบบุหรี่ด้วยเหตุผลเพื่อคลายความเครียด แต่เมื่อปริมาณนิโคตินในสมองลดลง จะทำให้ผู้สูบเกิดอาการหงุดหงิด และเครียดได้ในเวลาต่อมา และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ต้องสูบบุหรี่อยู่เสมอเพื่อคงระดับสารนิโคตินไว้ในร่างกาย และสาเหตุอีกอย่างมาจากกระแสของสื่อโฆษณา หรือสื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมล้วนมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนอย่างมาก สามารถก่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะเชื่อและนิยมชมชอบในผลิตภัณฑ์ที่โฆษณา ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายห้ามการโฆษณาบุหรี่ แต่บางประเทศที่ไม่มีกฎหมายห้ามก็มีการโฆษณาทุกรูปแบบ ซึ่งเผยแพร่ไปทั่วโลกตามการสื่อสารไร้พรมแดน ในปัจจุบันเยาวชนสามารถรับรู้สื่อโฆษณาบุหรี่ของต่างประเทศได้ทั้งทางหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ ทาง วิทยุและโทรทัศน์ นอกจากนี้ กลยุทธ์ในการโฆษณาแฝงของอุตสาหกรรมบุหรี่ที่หลีกเลี่ยงกฎหมายก็มี อายุเฉลี่ยของคนไทยที่ติดบุหรี่คือ 18 ปี


            จากการสำรวจข้อมูลของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นที่สูบบุหรี่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำแนกตามเพศ และกลุ่มอายุ ในปี พ..2550 และ2552

ตารางแสดงจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่ จำแนกตามเพศ และกลุ่มอายุ พ..2550 และ2552

พฤติกรรมการสูบบุหรี่
..2550
..2552
รวม
ชาย
หญิง
รวม
ชาย
หญิง
การสูบบุหรี่
51,166.9
24,812.7
26,354.1
52,678.2
25,604.8
27,073.4
ไม่เคยสูบ
36,914.1
11,322.2
25,591.9
37,008.0
10,798.0
26,210.8
ไม่สูบแต่เคยสูบ
3,395.0
3,143.0
252.0
4,757.1
4,439.1
317.9
สูบ
10,857.8
10,347.6
510.2
10,905.2
10,360.6
544.6
15-24ปี
1,605.2
1,585.6
19.6
1671.2
1,645.2
26.0
25-59ปี
7,952.4
7,601.9
350.5
7,964.3
7,606.9
357.4
60ปีขึ้นไป
1,300.2
1,160.1
140.1
1,269.7
1,108.5
161.2


         2.ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุประมาณ 15 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนมากทั้งเพศชายและเพศหญิง จากการสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ..2550 และปี2552โดยจำแนกตามเพศและช่วงอายุ
        2.1 สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทยในปี พ..2550 มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด 10,857.8 คน แบ่งตามช่วงอายุ15-24 ปี จำนวน 1,605.2 คน หรือคิดเป็น15% ช่วงอายุ25-59ปี จำนวน 7,952.4 คน หรือคิดเป็น73% และ ช่วงอายุ 60ขึ้นไป จำนวน 1,300.2 คน หรือคิดเป็น 12% จากข้อมูลช่วงอายุ 25-59ปีมีจำนวนคนที่สูบบุหรี่มากที่สุด เนื่องจากอยู่ในช่วงของวัยทำงาน


                          2.2 สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทยในปี พ..2552 มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด 10,905.2 คน แบ่งตามช่วงอายุ15-24 ปี จำนวน 1,671.2 คน หรือคิดเป็น15% ช่วงอายุ25-59ปี จำนวน 7,964.3 คน หรือคิดเป็น73% และ ช่วงอายุ 60ขึ้นไป จำนวน 1,269.7 คน หรือคิดเป็น 12% จากตัวเลขจำนวนประชากรพบว่าจากการสำรวจในปี พ..2552 มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้น


2.3   จำนวนประชากรที่สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 15ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศ ปี 2550 และปี2552 เพศชายมีจำนวนคนที่สูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง ปี 2550 มีจำนวนผู้สูบุหรี่แบ่งเป็นชาย จำนวน 10,347.6 คน หญิง จำนวน 510.2 คน และปี2552 มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด10,905.2 คนแบ่งเป็นชาย จำนวน 10,360.6 คน หญิงจำนวน 544 คนจากข้อมูลเบื้องต้นทำให้ทราบว่าเพศชายมีอัตราการสูบบุหรี่มากกว่าเพศหญิงเนื่องมาจากเพศชายเป็นเพศที่ใช้แรงงานหนักจนทำให้เกิดความเครียดในเรื่องของการทำงานจึงใช้บุหรี่เป็นตัวช่วยในการคลายเครียดและในวัยรุ่นก็จะสูบบุหรี่เพราะความอยากรู้อยากลอง คิดว่าเท่ ทำตามเพื่อนกลัวเพื่อนไม่ให้เข้ากลุ่มด้วย ก็เลยต้องสูบบุหรี่

        กราฟแสดงจำนวนประชากรที่สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ15ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศ ปี 2550 และปี2552                                     
                                จำนวนคนที่สูบบุหรี่

                 
      2.4  สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทยในปี พ..2550 มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด 10,857.8 คน แบ่งตามช่วงอายุ15-24 ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,605.2 คน ชายจำนวน1,585.6 คน หญิงจำนวน19.6 คน ช่วงอายุ25-59ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 7,952.4 คน ชายจำนวน7,601.9 คน หญิงจำนวน 350.5 คน และ ช่วงอายุ 60ขึ้นไป รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,300.2 คน ชายจำนวน 1,160.1 คน หญิงจำนวน140.1 คน  จากข้อมูล เพศชายมีจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง และสูงสุดในช่วงอายุ 25-59ปี มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่มากที่สุด   

                                               กราฟแสดงการสูบบุหรี่ จำแนกตามเพศและช่วงอายุ ปี 2550    
                                       จำนวนคนที่สูบบุหรี่

      2.5 จากสถิติการสูบบุหรี่ของคนไทยในปี พ..2552 มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด 10,905.2 คน แบ่งตามช่วงอายุ15-24 ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,671.2 คน ชายจำนวน1,645.2 คน หญิงจำนวน26.0คน ช่วงอายุ25-59ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 7,952.4 คน ชายจำนวน7,606.9คน หญิงจำนวน 357.4 คน และ ช่วงอายุ 60ขึ้นไป รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,269.7 คน ชายจำนวน 1,108.5คน หญิงจำนวน161.2 คน  จากข้อมูล เพศชายมีจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง และสูงสุดในช่วงอายุ 25-59ปี มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่มากที่สุด 

                                        
                                                          กราฟแสดงการสูบบุหรี่ จำแนกตามเพศแลช่วงอายุ ปี 2552
          
                      
                           จำนวนคนที่สูบบุหรี่
  


สรุป
         จากการสำรวจข้อมูลทางสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่ จำแนกตามเพศ และกลุ่มอายุในปี พ..2550 และ พ..2552 พบว่าประชากรในช่วงอายุ 24-59ปี มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่สูบบุหรี่สูงที่สุด คิดเป็น 73%  รองลงมาก็จะเป็นช่วงอายุ 15-24ปี คิดเป็น15% และช่วงอายุ60ปีขึ้นไปมีจำนวนคนที่สูบบุหรี่น้อยที่สุด คิดเป็น12% และเพศที่มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่มากที่สุดคือเพศชาย ช่วงอายุ24-59ปี รองลงมาคือเพศชายช่วงอายุ 15-24ปี และอันดับสุดท้ายคือเพศชายช่วงอายุ 60ปีขึ้นไปและในเพศหญิงที่มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่มากที่สุดคือช่วงอายุ 24-59ปี และน้อยที่สุดคือช่วงอายุ15-24ปี สาเหตุที่ทำให้คนสูบบุหรี่เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการทั้งเพศ วัยและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ส่วนใหญ่ในวัยรุ่นเพราะความอยากรู้อยากรอง ทำตามเพื่อนหรือเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม เลียนแบบพฤติกรรมคนในครอบครัว คิดว่าเท่ กลัวเพื่อนไม่ให้เข้ากลุ่ม มีความเครียดเรื่องเรียน เรื่องที่บ้าน ความรัก และมาจากสื่อโฆษณา ส่วนวัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงานสูบบุหรี่เพื่อเข้าสังคม เพื่อคลายความเครียด เรื่องงาน เรื่องครอบครัว
                                                                อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง