ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก นางสาวศศิธร จูลจันโท สาขาการพํฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ขอขอบคุณที่เข้ามาร่วมชมค่ะ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

บุหรี่ ติดง่าย เลิกยาก (โหน่ง)



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=1ULOvIiQ1kY

ดูกันชัดๆระหว่างการทำงานของปอดที่สูบบุหรี่กับไม่สูบ



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=0w2Syv8Y81s&NR=1&feature=endscreen

บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขต่อบุหรี่


         เมื่่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2548 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เริ่มบังคับใช้กฎเกณฑ์ห้ามตั้งแสดงซองบุหรี่ตามร้านค้าปลีก โดยร้านค้าปลีกใดที่มีบุหรี่จำหน่าย ให้ติดกระดาษขนาด A4 เขียนข้อความไว้ว่า "ที่นี่มีบุหรี่ขาย" เพราะถือเป็นการโฆษณาสินค้าบุหรี่ ณ จุดขาย หากร้านค้าปลีกใดละเมิด จะมีความผิดมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535
 

ผลต่อสุขภาพ

การสูบบุหรี่และยาสูบอื่น ๆ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งปอด (ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่) นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของโรคปอดอื่น ๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง (en:emphysema) หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และเด็กที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสของอาการหัวใจวาย และโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ผู้สูบบุหรี่อาจดูแก่กว่าปกติเนื่องจากควันบุหรี่จะเพิ่มรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง เนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม ดังนั้นอาจส่งผลให้ผู้สูบมีน้ำหนักลดลง [ต้องการอ้างอิง]
นิโคติน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาท (en:stimulant) ในบุหรี่นั้น มีผลเป็นสารเสพติด (en:addictive) และลดการอยากอาหาร (en:appetite suppressant) ผู้ที่เลิกการสูบบุหรี่มักจะทดแทนอาการอยากบุหรี่ด้วยการกินขนม ซึ่งส่งผลให้หนึ่งในสามของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นนิโคตินยังอาจเป็นสารพิษ หากเด็กหรือสัตว์รับประทานก้นบุหรี่โดยอุบัติเหตุ
โอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดจากการสูบควันนั้นไม่แน่นอน ขึ้นกับลักษณะของการสูบ สารที่สูบ และความถี่ จากสถิติพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสจะเป็นโรคมะเร็งปอดประมาณ 11-17% [1] หรือ 10-20 เท่าของคนที่ไม่สูบ   การสูดสารพิษและสารก่อมะเร็งจากควันบุหรี่ เช่น เรดอนและเรเดียม-226 เชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็ง ไร่ยาสูบในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี เนื่องจากการใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณฟอสเฟตสูง

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88

สารเคมีในบุหรี่


ไส้บุหรี่นั้น ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมี และมีการเพิ่มสารอื่น ๆ ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งในจำนวนนั้นมีสารเคมีจำนวนมากที่เป็นสารพิษ สารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (en:mutagenic) และสารก่อมะเร็ง (en:carcinogen) สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบได้แก่
อะซีโตน (Acetone)
อะลูมิเนียม (Aluminiam)
แอมโมเนีย (Ammonia)
สารหนู (Arsenic)
เบนซีน (Benzene)
บิวเทน (Butane)
แคดเมียม (Cadmium)
คาเฟอีน (Caffeine)
คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)
คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide)
คลอโรฟอร์ม (Chloroform)
ทองแดง (Copper)
ไซยาไนด์/ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Cyanide/Hydrogen cyanide)
ดีดีที/ดีลดริน (DDT/Dieldrin)
เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethenol)
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)
ตะกั่ว (Lead)
แมกนีเซียม (Magnesium)
มีเทน (Methane)
เมทิลแอลกอฮอล์ (Methanol)
ปรอท (Mercury)
นิโคตีน (Nicotine)
พอโลเนียม (Polonium)
ทาร์ (Tar)
ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride)
โพแทสเซียมไนเตรต (Potassium nitrate)

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88

บุหรี่

   บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ (ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา (en:marijuana)
บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน

ประโยชน์ของการเลิกบุหรี


  1. การหยุดสูบบุหรี่เป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก และเป็นผลดีที่เกิดทันทีที่เลิกบุหรี่ทั้งในเพศชายและหญิง ไม่ว่าจะป่วยจากโรคจากการสูบบุหรี่แล้วหรือไม่ก็ตาม
  2. ผู้ที่เลิกบุหรี่จะมีอายุยาวกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปโดยผู้ที่เลิกบุหรี่ก่อนอายุ 50 ปี จะมีโอกาสเสียชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ยังสูบต่อ
  3. การเลิกบุหรี่จะลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งระบบอื่นๆหัวใจวายกะทันหัน เส้นเลือดสมองตีบตันกะทันหัน โรคถุงลมโป่งพองและโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ
  4. ผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนตั้งครรภ์หรือระหว่าง 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์จะลดความเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
  5. ผลดีต่อสุขภาพจากการหยุดสูบบุหรี่มีมาก น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.3กิโลกรัม
  6. ความเสียงของการเสียชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดสูบบุหรี่
การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งทางเดินหายใจ
  1. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งปอดเมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป โดยพบว่าหลังหยุดสูบบุหรี่ 10ปี ความเสียงของการเกิดมะเร็งปอดจะเท่ากับร้อยละ30-50ของผู้ที่ยังสูบต่อไป
  2. การลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ พบทั้งชายและหญิง ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ก้นกรอง
  3. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งที่คอ และกล่องเสียง
  4. การหยุดสูบบุหรี่ ลดความผิดปกติที่จะกลายเป็นมะเร็งระยะแรกของเยื่อบุลำคอ กล่องเสียงและปอด
การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งระบบอื่นๆ
  1. หลังจากหยุดสูบบุหรี่ 5 ปี อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งช่องปากและหลอดอาหารส่วนต้นจะลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับคนที่สูบต่อ และอัตราเสี่ยงยังคงลดลงต่อไปหลังจากหยุดสูบเกิน 5 ปี
  2. การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราการเกิดมะเร็งตับอ่อน การลดนี้จะพบเมื่อหยุดบุหรี่มากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  3. อัตราเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมากในหญิงที่เลิกบุหรี่ แม้ว่าจะหยุดเพียง 2-3 ปี
การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบลงได้ครึ่งหนึ่งหลังจากหยุดสูบได้ 1 ปีและจะลดลงอย่างช้าๆต่อไป หลังจากหยุด 15 ปีความเสี่ยงจะเหมือนผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่
  2. ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเส้นเลือดหัวใจตีบ การหยุดสูบบุหรี่ การหยุดบุหรี่จะลดโอกาสของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโอกาสการเสียชีวิตกะทันหันอย่างมาก รายงานการวิจัยพบว่าโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลดลงถึงร้อยละ 50
  3. การหยุดสูบบุหรี่จะลดโอกาสการตีบตันของหลอดเลือดส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่นเส้นเลือดตีบตันที่ขา
  4. การหยุดสูบบุหรี่ลดความเสี่ยงของการเกิดลมปัจจุบันจากเส้นเลือดสมองตีบและแตก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ภายในเวลา 5 ปีแต่บางรายอาจต้องใช้เวลาถึง 15 ปีความเสียงจึงลดลงเหมือนผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
การหยุดสูบบุหรี่กับโรคปอดชนิดอื่นๆ
  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอาการไอ ลดจำนวนเสมหะ ลดอาการหายใจเสียงหวีด ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวม
  2. ในผู้ที่ยังไม่เป็นถุงลมโป่งพอง การหยุดสูบบุหรี่จะทำให้สมรรถภาพปอดดีขึ้นร้อยละ5ภายใน2-3เดือนหลังเลิกบุหรี่
  3. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร อัตราการเสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพองลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่สูบต่อ
การหยุดสูบบุหรี่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
  1. น้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.3 กิโลกรัมซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีเพียงร้อยละ 3.5ที่น้ำหนักเพิ่มกว่า 9 กิโลกรัม สาเหตุที่เพิ่มเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป
  2. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดไขมัน อาหารทอดจะทำให้คุมน้ำหนักได้
การหยุดสูบบุหรี่และการเจริญพันธุ์
  1. หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์จะให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักใกล้เคียงเด็กปกติ
  2. ถึงแม้จะมีการลดจำนวนบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ บุตรที่คลอดออกมาก็จะมีน้ำหนักตัวน้อยเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ลดจำนวนบุหรี่ลง
  3. การสูบบุหรี่จะทำให้ประจำเดือนหมดเร็วขึ้น 1-2 ปี
  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบลงได้ครึ่งหนึ่งหลังจากหยุดสูบได้ 1 ปีและจะลดลงอย่างช้าๆต่อไป หลังจากหยุด 15 ปีความเสี่ยงจะเหมือนผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่
  2. ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเส้นเลือดหัวใจตีบ การหยุดสูบบุหรี่ การหยุดบุหรี่จะลดโอกาสของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโอกาสการเสียชีวิตกะทันหันอย่างมาก รายงานการวิจัยพบว่าโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรลดลงถึงร้อยละ 50
  3. การหยุดสูบบุหรี่จะลดโอกาสการตีบตันของหลอดเลือดส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่นเส้นเลือดตีบตันที่ขา
  4. การหยุดสูบบุหรี่ลดความเสี่ยงของการเกิดลมปัจจุบันจากเส้นเลือดสมองตีบและแตก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ภายในเวลา 5 ปีแต่บางรายอาจต้องใช้เวลาถึง 15 ปีความเสียงจึงลดลงเหมือนผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
การหยุดสูบบุหรี่กับโรคปอดชนิดอื่นๆ
  1. การหยุดสูบบุหรี่จะลดอาการไอ ลดจำนวนเสมหะ ลดอาการหายใจเสียงหวีด ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวม
  2. ในผู้ที่ยังไม่เป็นถุงลมโป่งพอง การหยุดสูบบุหรี่จะทำให้สมรรถภาพปอดดีขึ้นร้อยละ5ภายใน2-3เดือนหลังเลิกบุหรี่
  3. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร อัตราการเสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพองลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่สูบต่อ
การหยุดสูบบุหรี่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
  1. น้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.3 กิโลกรัมซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีเพียงร้อยละ 3.5ที่น้ำหนักเพิ่มกว่า 9 กิโลกรัม สาเหตุที่เพิ่มเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป
  2. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดไขมัน อาหารทอดจะทำให้คุมน้ำหนักได้
การหยุดสูบบุหรี่และการเจริญพันธุ์
  1. หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์จะให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักใกล้เคียงเด็กปกติ
  2. ถึงแม้จะมีการลดจำนวนบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ บุตรที่คลอดออกมาก็จะมีน้ำหนักตัวน้อยเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ลดจำนวนบุหรี่ลง
  3. การสูบบุหรี่จะทำให้ประจำเดือนหมดเร็วขึ้น 1-2 ปี
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและพฤติกรรมหลังการหยุดสูบบุหรี่
  1. ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่มักจะมีความกังวล หงุดหงิดอารมณ์ร้อน โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ อยากอาหารมาก มีความอยากสูบบุหรี่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้จะหายไปในระยะเวลาอันสั้น แต่ความรู้สึกอยากบุหรี่และความรู้สึกว่ารสชาติอาหารดีขึ้นจะยังคงอยู่ต่อไประยะหนึ่ง
  2. ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่ สมรรถภาพของการทำงานง่ายๆหลายชนิดที่ต้องใช้สมาธิจะลดลงเป็นเวลาสั้นๆ แต่ไม่พบความผิดปกติของความจำ และความสามารถในการเรียนรู้ และการทำงานที่ใช้ความสามารถสูงๆอื่นๆภายหลังสูบบุหรี่
  3. เมื่อเทียบระหว่างผู้ที่ยังสูบบุหรี่กับผู้ที่หยุดแล้ว พบว่าผู้ที่หยุดสูบมีความมั่นใจในตัวเองสูงกว่า และควบคุมตัวเองได้ดีกว่า
  4. ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่แล้วมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคอื่นๆมากกว่าผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อไป
   ที่มา  http://www.siamhealth.net/public_html/Health/smoking/useful.htm

ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่าโรคกับการสูบบุหรี่

มะเร็ง
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งไต
มะเร็งกล่องเสียง
มะเร็งเม็ดเลือด
มะเร็งปอด
มะเร็งในช่องปาก
มะเร็งตับอ่อน
โรคหัวใจและหลอดเลือด
หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง Abdominal aotic aneurysm
หลอดเลือดแดงแข็ง Atherosclerosis
โรคหลอดเลือดสมอง Cerebrovascular disease
โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary heart disease
โรคทางเดินหายใจ
โรคถุงลมโป่งพอง Chronic obstructive pulmonary disease
ปอดบวม Pneumonia
การสูบบุหรี่ของมารดามีผลต่อการพัฒนาของปอดเด็ก
การสูบบุหรี่ในเด็กทำให้การทำงานของปอดแย่ลงและเกิดโรคปอด
โรคทางระบบสืบพันธุ์
ทารกตายในครรภ์ Fetal death and stillbirths
เป็นหมัน Fertility
เด็กเกิดมาตัวเล็ก Low birth weight
โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ Pregnancy complications
โรคอื่นๆ
ต้อกระจก
กระดูกสะโพกหัก
กระดูกพรุน
โรคกระเพาะอาหาร
ที่มาhttp://www.siamhealth.net/public_html/Health/smoking/disease.htm

บุหรี่ หยุดมันหรือให้มันหยุดเรา


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=wAG1yuvoRq8

ผ่าปอด วันงดสูบบุหรี่โลก



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=7vzlX9hv0EQ

อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไ


  1. หงุดหงิด งุ่นง่าน อยากสูบบุหรี่จนแทบคุมไม่ได้เพราะร่างกายคุณติดนิโคติน และนี่เองเป็นสาเหตุให้คุณอยากสูบบุหรี่ การแก้ไข
  • ดื่มน้ำให้มากที่สุด ดื่มบ่อยๆเพื่อชำระนิโคตินออกจากร่างกายให้หมดไปให้เร็วที่สุด
  • ออกกำลังกาย เช่นเดินเร็วๆ ปั่นจักรยาน เพื่อช่วยผ่อนคลาย เหงื่อจะช่วยขับนิโคตินออกไป
  • อาบน้ำอุ่น และถูตัวด้วยผ้าขนหนูให้ทั่วตัวจะทำให้ผ่อนคลายได้ดี
  • พูดคุยกับคนข้างเคียงที่คุ้นเคย เพื่อระบายความหงุดหงิดออกไปบ้าง
  • งดเว้นอาหารจากเนื้อสัตว์ อาหารติดมัน และอาหารรสจัดต่างๆ
  1. ง่วง กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการใช้ความคิด การแก้ไข
  • นอนหลับ หรือนั่งเพื่อผ่อนคลายในห้องที่เงียบๆ ฟังเพลงเบาๆผ่อนความรู้สึกสับสนออกไป
  • งดเว้นงานที่ต้องใช้ความคิดมากๆ
  • พักร้อนหรือลาครึ่งวันเพื่อพักผ่อน
  • ดื่มนมอุ่นๆ
  1. โกรธ ขุ่นเคืองง่าย การแก้ไข
  • อดทนกับอารมณ์ของตัวเอง บอกคนข้างเคียงให้ทราบ และขอร้องให้อดทน เข้าใจคุณ
  • แสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่นเต้นรำ เล่นกีฬา ออกกำลังกาย
  • ถ้าทนไม่ไหวให้ทุบหมอน ชกหมอน เข้าห้องน้ำตะโกนก็ช่วยได้
  • เขียนระบายความรู้สึกในสมุดบันทึก
  • คุยปัญหากับเพื่อนสนิท
  1. หมดแรง ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ หายใจผิดปกติ บุหรี่เป็นตัวกระตุ้น เมื่อไม่ได้สูบทำให้หมดแรงเป็นธรรมดา วิธีแก้ไข
  • หากิจกรรมที่กระตุ้นความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น เช่นออกกำลังกาย เต้นรำ
  • พักผ่อนด้วยวิธีการนอนหรือออกไปสูดอากาศธรรมชาติ
  • ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผลไม้จะช่วยให้ชุ่มคอ
  • รับประทานยาแก้ปวด
อาการทางกายเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเพื่อปรับตัวสู่ภาวะปกติเท่านั้น อย่าตกใจ อาการจะเป็นชั่วคราวประมาณ 72 ชั่วโมงเท่านั้น

วิธีเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง

โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่เลิกบุหรี่ได้ เลิกได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา หรือสารนิโคตินแทนบุหรี่ การใช้สารนิโคตินทดแทนมิได้หมายความว่าจะสามารถเลิกบุหรี่ได้ทุกคน ความตั้งใจจริง กำลังใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง การลดความเครียดช่วงที่อยากบุหรี่ ลดอาการอยากบุหรี่ เบี่ยงเบนความสนใจความอยากบุหรี่ได้
วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำคือ
  1. เตรียมตัว ตั้งใจแน่วแน่ ว่าต้องเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง เตรียมความพร้อมทังร่างกายและจิตใจ
  • ให้จดบันทึกเวลาและเหตุผลการสูบบุหรี่ จดเหตุการณ์ที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ เช่นการดื่มสุรา กาแฟ สูบขณะขับรถ
  • เปลี่ยนพฤติกรรม เช่นเก็บบุหรี่ไว้อีกที่หนึ่ง ใช้มืออีกข้างสูบแทน ขณะสูบบุหรี่ไม่ต้องทำอะไรให้นึกว่าทำไมถึงสูบ
  • ให้สูบนอกอาคาร
  • เมื่ออยากสูบบุหรี่ให้รอสัก2-3 นาทีคิดเรื่องอื่นเพื่อเปลี่ยนความสนใจหรือเคี้ยวหมากฝรั่งและดื่มน้ำมากๆ
  • ซื้อบุหรี่ครั้งละซองและซื้อชนิดที่ไม่เคยสูบ
  1. กำหนดวัน"ปลอดบุหรี่"ของตนเองอาจจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันเกิดของตนเอง หรือบุตร-ภรรยา ไม่ควรเลือกช่วงที่เครียด ควรหาใครบางคนรับรู้และคอยช่วยเหลือ
  2. แจ้งแก่คนในครอบครัว ที่ทำงาน นายจ้าง เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน เพื่อให้กำลังใจเป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ
  3. เมื่อถึงวันสำคัญ ที่กำหนดแล้วว่า"วันปลอดบุหรี่"ให้หยุดเลย 
  • ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมากระตุ้นให้อยากบุหรี่อีก
  • เปลี่ยนพฤติกรรม เช่นไม่ดื่มกาแฟ
  • ให้งดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ละเว้นการรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป 
  • ไม่ควรนั่งที่โต๊ะอาหารนานเกินไป เพราะหลังอาหารทุกมื้อจะอยากบุหรี่อีก 
  • ควรดื่มน้ำผลไม้ เช่นน้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะความเป็นกรดจะชะล้างนิโคตินออกไป
  • เมื่ออยากสูบบุหรี่ให้หางานอย่างอื่นทำ เคียวหมากฝรั่ง หรือไปในที่ๆสูบบุหรี่ไม่ได้ เช่นโรงหนัง รถเมล์ ขี่จักรยาน เดินเล่น โทรคุยกับเพื่อน
  • ให้รางวัลตัวเองเมื่ออดบุหรี่ได้โดยไปดูหนัง
    1. เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว
    • ในช่วงแรกที่อดบุหรี่อาจจะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้าออกลึกๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อลดความอยากหรืออาจจะอาบน้ำถ้าเป็นไปได้
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร อดอาหารหวาน ลดอาหารไขมัน จะเป็นการคุมน้ำหนักได้อีกทางหนึ่ง
    • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำประจำตอนสูบบุหรี่ เลี่ยงสถานการณ์ สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่เป็นประจำ
    • ฝึกปฏิเสธ ซ้อมพูดกับตัวเอง เพื่อนฝูง"ไม่ครับ" "ผมไม่สูบ""นายแน่มากที่เลิกสูบบุหรี่ได้"
    • ให้นึกถึงสิ่งที่ดีๆเมื่ออดบุหรี่ได้
    • เมื่อเกิดความเครียดหรือปัญหาให้หาทางแก้ไขและบอกตัวเองว่าบุหรี่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกต่อไปแล้ว
    • หยอดกระปุกให้ลูกเมื่อไม่ได้สูบบุหรี่
    • หากท่านล้มเหลวครั้งแรกให้พยายามใหม่ มีหลายคนที่สามารถประสบผลสำเร็จเมื่อมีความพยายาม
    • บอกเพื่อนร่วมงานหรือครับครัวว่า ห้ามสูบบุหรี่ใกล้ตัว ห้ามหยิบยื่นบุหรี่ ห้ามทิ้งบุหรี่ไว้ให้เห็น ห้ามชักชวนให้สูบบุหรี่
    • ปิดประกาศหน้าห้องว่า"เขตปลอดบุหรี่"
    • ใช้เวลาส่วนใหญ่ในที่ๆสูบบุหรี่ไม่ได้
    • หลีเลี่ยงกาแฟ สุรา อาหารรสจัด

การเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเอง



เพราะในบุหรี่หรือยาสูบมีสารนิโคติน ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท-สมอง มีฤทธิ์การเสพติดสูงมาก การสูบบุหรี่ทำให้สมอง และระบบประสาทส่วนกลางได้รับสารนิโคตินรวดเร็วมากคือประมาณ 6 วินาที เร็วกว่าการได้รับยาเสพติดอื่นๆ เร็วกว่าการฉีดเฮโรอินเข้าเส้นเลือดเสียอีกsg
เมื่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางได้รับสารนิโคตินอย่างรวดเร็วง่ายดายและฤทธิ์เสพติดของบุหรี่ ทำให้มีความพอใจ มีความอยากบุหรี่เมื่อระดับนิโคตินในเลือดลดต่ำลง
แต่โดยที่การสูบบุหรี่ส่วนหนึ่งเป็นการติดพฤติกรรม หรือความเคยชินต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่คุ้นเคยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ยากต่อการละ-เลิก แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถ หากเราต้องการจะเอาชนะใจตนเองให้ได้
เลิกสูบบุหรี่แล้วดีอย่างไร
ในสัปดาห์แรกที่เลิกสูบบุหรี่ จะมีอาการอยากบุหรี่อยู่ สัปดาห์ต่อมาอาการอยากจะน้อยลง ความอยากจะหายไปและต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จริงจัง ตั้งใจเลิกพฤติกรรมที่เคยชินต่อการสูบบุหรี่ เช่น ดื่มกาแฟ ดื่มสุรา นั่งเล่นที่โต๊ะอาหารหลังอิ่ม หากคุณคิดอยากเลิกสูบบุหรี่ คงอยากทราบว่าโดยทั่วไปมีวิธีอะไรบ้าง
  1. การดูแลตัวเอง พร้อมความตั้งใจสูง กำลังใจของผู้ต้องการเลิกบุหรี่เอง และบุคคลรอบข้าง
  2. การให้สุขศึกษา เข้าคลินิกอดบุหรี่ อาจเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล
  3. การใช้ยาช่วยระงับ ลด อาการเครียด เช่นยานอนหลับ
  4. การใช้สารนิโคตินทดแทน ในรูปแบบต่างๆเช่นหมากฝรั่ง แผ่นแปะผิวหนังนิโคติน
  5. การฝังเข็มช่วยลดอาการอยาก คลายอาการหงุดหงิด
  6. รับคำปรึกษาจากแพทย์
  7. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
  8. การใช้สื่อต่างๆสร้างพลัง-กำลังใจ การรวมกลุ่มโปรแกรมอดบุหรี่สำหรับชุมชน
เมื่อคุณเลิกบุหรี่
ร่างกายและปอดของคุณจะปลอดจากสารพิษในควันบุหรี่ ปอดจะโปร่งจากนิโคติน สารทาร์หรือน้ำมันดิน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซและสารเคมีอื่นๆอีกหลายพันชนิด ทางเดินหายใจจะรู้สึกโล่ง สะดวกกว่าเดิมภายใน 2 สัปดาห์ เสมหะจะลดลง ลดความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่นคออักเสบ หลอดลมอักเสบ เนื่องจากไม่มีควันบุหรี่ที่เป็นสารก่อระคายเคือง และเสี่ยงต่อการที่ทำให้ติดเชื้อมากขึ้น ที่สำคัญคือลดอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งของอวัยวะต่างๆ ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง

สุขภาพ >> บุหรี่>>


การสูบบุหรี่
ถ้าจะถามผู้ที่สูบบุหรี่ว่ารู้หรือไม่ว่าบุหรี่มีโทษ ส่วนใหญ่จะรู้ว่ามีโทษ
ถามว่าทำไมไม่เลิกมักจะได้คำแก้ตัวต่างๆกัน เช่น"ลงทุนสูบมามากแล้ว""คนที่สูบไม่เห็นเป็นไรคนที่เลิกแล้วตายเร็ว""เลิกบุหรี่แล้วทำให้อ้วน" เหตุผลต่างๆนำมาแก้ตัวทั้งนั้น ความจริงคือคุณติดสารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่
การสูบบุหรี่จะทำร้ายตัวเอง
  • ทำให้เกิดโรคมากมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่
  • ทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่มากมาย
  • สูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่นเสียเงินซื้อ เสียเงินรักษาโรค หยุดงานเพราะป่วย
การสูบบุหรี่จะทำร้ายคนอื่น
  • จะทำลายสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน
  • ทำให้เกิดโรคในเด็ก เช่นหอบหืด หูอักเสบ

  • ที่มา http://www.siamhealth.net/public_html/Health/smoking/index.htm

สูบบุหรี่มือสอง


คุณไม่สูบุหรี่แต่คุณก็มีสิทธิ์เป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หากคุณอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คนสูบบุหรี่เราเรียกคนที่ได้รับบุหรี่ โดยที่ไม่ได้สูบว่า"สูบบุหรี่มือสอง" ที่มาของควันบุหรี่มาได้ 2 ทางคือ
  • ควันที่เกิดจากการเผาบุหรี่หรือซิการ์
  • ควันซึ่งเกิดจากหายใจออกของผุ้ที่สูบบุหรี่
เมื่อควันบุหรี่ถูกสูบเข้าไปและถูกหายใจออกมา ควันที่ออกมายังมีสารก่อมะเร็งเท่ากับควันที่ก่อนจะถูกสูด แทบไม่น่าเชื่อควันบุหรี่ที่เห็นเป็นควันสีขาวจะมีสารเคมีอยู่ 4000 ชนิดในจำนวนนี้กว่า 60 ชนิดเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สูบบุหรี่มากและได้ควันบุหรี่มาก จะมีโอกาสเกิดโรคมากด้วย การสูบบุหรี่นั้นนอกจากจะมีผลต่อผู้สูบโดยตรงแล้วยังทำให้ผู้อื่นในบรรยากาศของควันบุหรี่สูดเอาพิษจากควันบุหรี่เข้าไปด้วย ทำให้เกิดอันตรายเช่นเดียวกับผู้สูบบุหรี่ ซึ่งผลกระทบของบุหรี่ที่มีต่อคนข้างเคียงพอสรุปได้ดังนี้fd
  1. เด็ก การสูบบุหรี่ของคนในครอบครัวทำให้เด็กป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูชั้นกลางอักเสบเพิ่มขึ้น และมีสมรรถภาพปอดแย่กว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่
  2. หญิงมีครรภ์ หญิงมีครรภ์สูบบุหรี่จะทำให้น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติ และมีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดระหว่างคลอดและหลังคลอดมากเป็น2เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังเกิดภาวะรกเกาะต่ำและรกรอกตัวก่อนกำหนดมากขึ้นลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหร ี่อาจจะมีน้ำหนักและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ อาจจะมีความผิดปกติทางระบบประสาท ระบบความจำ
  3. คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปี
  4. คนทั่วไป คนทั่วไปที่ต้องอยู่ในบรรยากาศที่ผู้อื่นสูบบุหรี่ ควันบุหรี่จะทำให้เคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะทำให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้น
  1. สูบบุหรี่มือสองทำให้เกิดมะเร็งปอด
  2. การแยกที่สำหรับผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่สามารถลดปริมาณควันได้แต่ก็ได้รับควัน
  3. การที่เด็กที่เสียชีวิตในขวบปีแรกก็มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของพ่อแม่
  4. สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นหอบหืด หลอดลมอักเสบหากได้ควันบุหรี่ก็อาจจะทำให้อาการกำเริบ

ผลเสียของการสูบบุหรี่

ทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ 400000
คนหรืออาจจะมากว่านั้นแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียงบประมาณเป็นค่ารักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่มากมาย โทษของบุหรี่สมัยนี้มีมากว่าสมัยก่อนหลายเท่าเนื่องจากบุหรี่ปัจจุบันมีสารนิโคตินและ tar ต่ำทำให้คนสูดบุหรี่เข้าปอดให้ลึกๆ
ผู้ที่อยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่ก็ได้รับผลเช่นเดียวกันเราเรียกกลุ่มนี่ว่าสูบบุหรี่มือสอง ควันที่ออกจากผู้สูบบุหรี่จะมีสารที่มีขนาดเล็กสามารถเข้าปอดของผู้สูบบุหรี่มือสองผลเสียของการสูบบุหรี่ได้แก่
  1. โรคหัวใจ
การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ที่สูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราการเกิดโรหัวใจ 5 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีระดับไขมัน HDL-Cholesterol(ไขมันซึ่งป้องกันหลอกเลือดแดงตีบ)ต่ำ และยังกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติทำให้หัวใจและหลอดเลือดเกิดโรค ยิ่งสูบมากยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมาก โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้ชายที่สูบบุหรี่เนื่องจาการสูบบุหรี่มีผลต่อระดับฮอร์โมน estrogen มีรายงานว่าผู้ที่สูบุหรี่มือสองเมื่ออยู่ในห้องที่สูบบุหรี่เพียงครึ่งชั่วโมงระดับของสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดเช่นวิตามิน ซีจะมีระดับลดลง
  1. โรคมะเร็ง 
 ร้อยละ30ของผู้ป่วยมะเร็งจะสูบบุหรี่ ผู้ป่วยมะเร็งปอดจะสูบุหรี่ร้อยละ85 ผู้ที่สูบบุหรี่มือสองจะมีการเพิ่มขึ้นของมะเร็งปอดร้อยละ 25 ผู้ที่สูบุหรี่ที่มีไส้กรองจะมีอุบัติการณ์ของมะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma สูงเนื่องจากผู้ป่วยจะสูดเข้าแรงมากทำให้สารก่อมะเร็งเข้าสู่ปอด ผู้ที่สูบบุหรี่ที่ใส่ menthol ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูง นอกจากมะเร็งปอดแล้วบุหรี่ยังก่อให้เกิดมะเร็งที่คอ ปาก หลอดอาหาร ไตกระเพาะปัสสาวะ มดลูก

  1. โรคอัมพาตและสมองเสื่อม
ผู้ที่สูบบุหรี่วันละซองจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคอัมพาต2เท่าครึ่งเมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบ และยังพบว่าปัจจัยเสี่ยงยังคงมีอยู่หลังหยุดสูบบุหรี่ 14 ปี นอกจากนั้นยังพบโรคสมองเสื่อมเพิ่มในผู้ที่สูบบุหรี่
  1. โรคปอด
ปีหนึ่งจะมีผู้ที่สูบบุหรี่เสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพอง ปอดบวม หลอดลมอักเสบเป็นจำนวนมาก

  1. การตั้งครรภ์และทารก
ผู้ที่สูบบุหรี่วันละซองโดยเฉพาะที่เริ่มสูบตั้งแต่อายุ 18 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เป็นหมัน ครรภ์นอกมดลูกและการแท้งและยังเพิ่มอัตราการตายในทารก การสูบบุหรี่จะไปลดกรดโฟลิก กรดโฟลิกจะมีส่วนช่วยป้องกันความพิการแต่กำเนิด ลูกที่เกิดจากแม่ที่สูบบุหรี่มักจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
สำหรับเด็กที่เติบโตในสิ่งแวดล้อมที่พ่อหรือแม่ที่สูบบุหรี่จะมีอุบัติการณ์การเกิดโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม เพิ่มขึ้นร้อยละ50
  1. การสูบบุหรี่กับสุขภาพช่องปาก
การสูบบุหรี่สามารถทำให้โรคมะเร็งในช่องปากและโรคเหงือก โดยควันบุหรี่จะทำลายเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างเหงือกและฟันทำให้เหงือกร่น ทำให้ดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นจะเสียว เกิดฟันผุ ทำให้แผลหายช้า มีกลิ่นปาก มีคราบบุหรี่ติดที่เหงือกและฟัน
  1. การสูบบุหรี่กับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ
โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ผู้ที่สูบจะมีอายุสั้นกว่าผู้ที่ไม่สูบประมาณ 7-10ปี บุหรี่นอกจากจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดยังก่อให้เกิดโรคข้อและกระดูกดังนี้
  • โรคกระดูกพรุน การสูบบุหรี่จะลดเลือดที่ไปเลี้ยงกระดูก นิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ยังลดการสร้างกระดูกและลดการดูดซึมแคลเซียมทำให้ผู้ที่สูบมีโรคกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย
  • การสูบบุหรี่ทำให้กระดูกสะโพกหักง่ายเนื่องจากกระดูกพรุน
  • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบของข้อและกระดูกจากการออกกำลังได้ง่าย มีการฉีกของเอ็นและกล้ามเนื้อ
  • การสูบบุหรี่ทำให้กระดูกที่หักต่อติดกันได้ยากและทำให้แผลหายช้า
  • การสูบบุหรี่ทำให้ประสิทธิภาพของนักกีฬาลดลงเนื่องจากการทำงานของปอดสู้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ไม่ได้ ผู้ที่สูบบุหรี่จะหายใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่มีโรคปวดหลังมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  1. การสูบบุหรี่กับโรคทางเดินอาหาร
 ที่มา  http://www.siamhealth.net/public_html/Health/smoking/bad_effect.htm

สารประกอบในบุหรี่


บุหรี่มีสารประกอบต่างๆอยู่ประมาณ 4000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่น้อยกว่า 42 ชนิด สารบางชนิดที่เป็นอันตรายที่สำคัญคือ
  1. นิโคติน เป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองทั้งเป็นตัวกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง ถ้าได้รับสารนี้ขนาดน้อยๆ เช่นการสูบบุหรี่ 1-2 มวนแรก อาจจะกระตุ้นให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่ถ้าสูบมากหลายมวนก็จะกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ความรู้สึกต่างๆช้าลง ร้อยละ 95ของนิโคตินจะไปจับอยู่ที่ปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดมีผลโดยตรงต่อหมวกไตก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอิฟิเนฟริน [epinephrine] ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติและไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด บุหรี่หนึ่งมวนจะมีนิโคติน 0.8-1.8 มิลิกรัม(ค่ามาตรฐานกำหนดไว้ 1 มิลิกรัม) และสำหรับบุหรี่ก้นกรองก็ไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดลง
  2. ทาร์ หรือน้ำมันดินประกอบด้วยสารหลายชนิด เกาะกันเป็นสีน้ำตาล เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งได้  เช่นมะเร็งปอด กล่องเสียง หลอดลม หลอดอาหาร ไต กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ซึ่งร้อยละ 50 ของทาร์จะไปจับที่ปอด ทำให้เกิดระคายเคืองอันเป็นสาเหตุของการไอเรื้อรังมีเสมหะ ในคนที่สูบบุหรี่วันละซองจะรับน้ำมันทาร์เข้าไปประมาณ 30มิลิกรัม/มวน หรือ110กรัม/ปี บุหรี่ไทยมีสารทาร์อยู่ระหว่าง 12-24 มิลิกรัม/มวน
  3. คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่ทำลายคุณสมบัติในการเป็นพาหะนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่าเวลาปกติ เกิดการขาดออกซิเจน ทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
  4. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำโดยเฉพาะในตอนเช้าจะมีมากขึ้น
  5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลมทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพอง ถุงลมเล็กๆหลายอันแตกรวมกันรวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้มีถุงลมจำนวนน้อย การยืดหยุ่นในการหายใจเข้าออกน้อยลง ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
  6. แอมโมเนีย มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอและมีเสมหะมาก
  7. สารกัมมันตรังสี ควันบุหรี่มีสารโพโลเนียม 210ที่มีรังสีอัลฟาอยู่เป้นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปอด และควันบุหรี่ยังเป็นพาหะร้ายแรงในการนำสารกัมมันตรังสี ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างที่ไม่สูบุหรี่หายใจเอาอากาศที่มีสารพิษนี้เข้าไปด้วย

รวมซ๊อทเล่นกับควันบุหรี่.flv



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=MZoQ0pEx15s

ISCi : episode - 75 บุหรี่อันตราย



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=d5peUCgEpNI

ความลับ "บุหรี่"



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=4QNB7WF3DiU

คลิป บุหรี่ 400 มวน คนสูบบุหรี่




ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=1cqAaoyryYw

การเลิกสูบบุหรี่ หากสามารถกระทำได้ ร่างกายจะเริ่มปรับตัวในทางที่ดีขึ้นทันที

                  ภายใน 24 - 48 ชั่วโมง ความดันโลหิตและชีพจรของร่างกายจะปรับสภาพสู่ระดับปกติ ด้วยนิโคตินที่เคยอยู่ในกระแสเลือด รวมทั้งคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จับแน่นอยู่กับเม็ดเลือดแดง จะถูกขับออกไปจากร่างกาย

ภายใน 48 ชั่วโมง ความรู้สึกสดชื่นจะบังเกิดขึ้น เพราะร่างกายไม่มีนิโคตินอันใหม่เข้าไปในร่างกาย ปอดจะเริ่มขจัดเสมหะและสิ่งสกปรกต่างๆ ออกไปจากร่างกาย

ภายใน 72 ชั่วโมง การรับประทานอาหารจะอร่อยขึ้น เพราะตุ่มรับรสที่ลิ้นทำงานได้ดีขึ้น ความรู้สึกเรื่องรสชาติและกลิ่นจะกลับคืนมา นอกจากนั้นกลิ่นตัวของตนก็จะปลอดจากกลิ่นบุหรี่มวนใหม่ด้วย

ภายใน 96 ชั่วโมง ความรู้สึกสงบและสบายตัวจะบังเกิดขึ้น เพราะอาการอยากบุหรี่จะลดลงไปมาก

ภายใน 3 สัปดาห์ การออกกำลังกายจะสามารถกระทำได้มากขึ้น เพราะปอดจะดีขึ้น จะไม่รู้สึกเหนื่อยง่าย และอาการไอจะลดลงเรื่อยๆ

ภายใน 2 เดือน ร่างกายจะมีกำลังแข็งแรงมากขึ้น จะสามารถยกของหนักและอึดมากขึ้น เพราะเลือดสามารถไหลเวียนไปสู่แขนขาได้ดีขึ้น

ภายใน 3 เดือน ร่างกายจะสูดลมหายใจได้เต็มปอดขึ้น เพราะระบบการขจัดสิ่งสกปรกในปอด จะทำงานได้เป็นปกติ ไอน้อยลงมาก การหายใจดีขึ้น ...สำหรับผู้ชาย ในช่วงนี้เชื้ออสุจิจะกลับเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติ และจำนวนเชื้ออสุจิก็เพิ่มขึ้นด้วย

ภายใน 5 ปี สุขภาพโดยรวมจะดีขึ้น …อัตราเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจขาดเลือด จะลดลง เท่ากับครึ่งหนึ่งของคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่

ภายใน 10-15 ปี อัตราเสี่ยงต่อการป่วยจะลดลง โดยเฉพาะโรคร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากพิษภัยของบุหรี่ เช่น มะเร็งปอด
 
   เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ไทยจัดได้ว่ามีมาตรการคุมบุหรี่ไม่ด้อยกว่าประเทศอื่น อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา ห้ามติดฉลากประเภทของบุหรี่ รสอ่อน หรือไมล์ด (mild) รสเบา หรือไลท์ (light) และต้องระบุผลกระทบด้านสุขภาพ ส่วนอังกฤษ ยังอยู่ระหว่างการต่อสู้เพื่อให้ป้ายรถโดยสารประจำทางเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 ยาเส้นก็เข้าข่ายยาสูบที่รัฐต้องควบคุมเช่นกัน
 
    มาตรการที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกเป็นประกาศกระทรวงใช้ควบคุมบุหรี่มีถึง ฉบับ สาระสำคัญ ฉบับ เกี่ยวเนื่องกับการกำหนดให้บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ที่ผลิต หรือนำเข้าในไทย ต้องแสดงฉลากเป็นรูปคำเตือนถึงพิษภัยบุหรี่ ใจหลักเป็นการเพิ่มภาพคำเตือนข้างซองจาก 6 ภาพ เป็น ภาพ
อีกฉบับเป็นการประกาศพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มเติม เช่น ป้ายรอรถโดยสารประจำทาง อาคารโรงมหรสพ และตู้โทรศัพท์สาธารณะ หรือบริเวณที่ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
 
     ตั้งแต่ พ.ศ.2535 ที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ มีผลบังคับใช้ มาตรการที่ดำเนินการแล้ว เช่น การห้ามโฆษณาบุหรี่ทุกรูปแบบ การกำหนดสถานที่ปลอดบุหรี่เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ การห้ามขายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และการห้ามแสดงบุหรี่ ณ จุดขาย ส่งผลให้ยอดขายบุหรี่ลดลงถึง 20% นับแต่เดือนกันยายน 2549
    รวมถึงมาตรการด้านภาษี ที่ปัจจุบันบริษัทบุหรี่ต้องเสียภาษีตามมูลค่าเกือบเต็มเพดาน อยู่ที่ 79% และมีการพยายามผลักดันให้มีการเก็บภาษีตามปริมาณ คือ กำหนดว่า มวนต้องเสียภาษีเท่าไร ขณะที่ยาเส้นเสียภาษีตามมูลค่า 0.1% และเสียภาษีตามปริมาณ 0.01 บาทต่อสิบกรัม
 
เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ไทยจัดได้ว่ามีมาตรการคุมบุหรี่ไม่ด้อยกว่าประเทศอื่น อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา ห้ามติดฉลากประเภทของบุหรี่ รสอ่อน หรือไมล์ด (mild) รสเบา หรือไลท์ (light) และต้องระบุผลกระทบด้านสุขภาพ ส่วนอังกฤษ ยังอยู่ระหว่างการต่อสู้เพื่อให้ป้ายรถโดยสารประจำทางเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 ยาเส้นก็เข้าข่ายยาสูบที่รัฐต้องควบคุมเช่นกัน
 
 
ไม่ว่าจะเป็นยาสูบชนิดไหน ทั้งบุหรี่ซิกาแรต ซิการ์ และยาเส้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูบและคนใกล้ชิดทั้งสิ้น  เมื่อเป็นเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมบุหรี่อย่างเข้มงวด


ที่มา  http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/disease/cigarette2.html

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อท่านต้องการจะเลิกสูบบุหรี

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อท่านต้องการจะเลิกสูบบุหรี่
1. มีความตั้งใจแน่วแน่ว่าต้องการเลิกสูบบุหรี่ ด้วยตัวเอง
2. กำหนดวัน “ปลอดบุหรี่” ของตัวเอง อาจเป็นวันเกิดของตัวเอง ของคู่ครอง ของลูก ของคุณพ่อของคุณแม่ หรือเป็นวันสำคัญของชาติ หรือเป็นวันสำคัญของศาสนา ...แต่ทั้งนี้วันที่กำหนด ควรเลือกเป็นช่วงเวลาที่ตนเองไม่มีอารมณ์เครียดต่อสิ่งใดมากเป็นพิเศษ
3. ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์การสูบไปเลย ไม่ให้มีหลงเหลืออยู่ที่ใดแม้แต่ที่เดียว ทั้งซองบุหรี่ กล่องบุหรี่ ไฟแช๊ค ที่เขี่ยบุหรี่ และควรอยู่ห่างๆเพื่อนหรือญาติที่สูบบุหรี่ด้วย ..หากมีความจำเป็นจะต้องติดต่อ ช่วงนั้นก็ควรใช้มือถือโทร.เอา
4. แจ้งให้คนในครอบครัว ทั้งลูก พ่อแม่ พี่น้อง ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา รวมทั้งคนในหน่วยงาน ทั้งนายจ้าง เพื่อนร่วมงาน และรวมทั้งเพื่อนสนิททุกคนทราบ เพื่อให้ทุกคนคอยพูดให้กำลังใจ หรือพูดดุด่า สบประมาท หรือคอยร้องห้ามตลอดเวลา
5. รับประทานอาหารต่อมื้อ อย่าให้อิ่มมากนัก ควรรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ให้มากกว่าเดิม ช่วงนี้ควรงดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ไม่ควรนั่งที่โต๊ะอาหารนานๆ ไม่ควรลงว่ายน้ำในสระหรือในทะเลนานๆ เพราะหลังจากรับประทานอาหารอิ่ม ความเคยชินจะทำให้อยากสูบบุหรี่ และหลังจากขึ้นจากสระว่ายน้ำหรือขึ้นจากทะเล ตอนที่ตัวเย็นๆ ความเคยชินจะทำให้อยากสูบบุหรี่
6. ในช่วงแรกของการเลิกสูบบุหรี่ ทุกคนจะรู้สึกหงุดหงิด อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นกันทุกคน ควรเตือนตนเองอยู่เสมอว่า “เราไม่สูบบุหรี่แล้ว” ควรจะประวิงเวลาของการสูบบุหรี่ไปเรื่อยๆ และควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ ทานของเปรี้ยวๆ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อลดความอยากสูบบุหรี่
7. ออกกำลังกายให้เหงื่อออกบ่อยๆ หรือทำงานอย่าให้มือและสมองอยู่ว่าง หรืออาจทำในสิ่งที่ตนเองชอบในช่วงนั้น เพื่อจะได้ลดความอยากสูบบุหรี่ ..บางคนที่ใช้วิธีรับประทานอาหารน้อยๆแต่บ่อยๆแทนนั้น เพื่อหวังจะให้น้ำลายและน้ำย่อยทำงาน ซึ่งก็อาจจะทำได้ แต่การรับประทานอาหารบ่อยๆโดยไม่ออกกำลังกาย มักจะทำให้ผู้เลิกสูบบุหรี่ มีร่างกายอ้วน
8. บางคนอาจจะต้องการอยู่ภายใต้การบังคับดูแลของแพทย์และพยาบาล ซึ่งก็สามารถทำได้ สำหรับคนที่จิตใจไม่แข็งพอ

    มีข้อมูลเพิ่มเติม ร้อยละ 80 ของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ จะเลิกได้ด้วยตัวเอง และผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ ส่วนใหญ่ใช้วิธีไม่สูบบุหรี่เลย (หักดิบ) ...แต่ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่โดยใช้วิธีค่อยๆลดจำนวนมวนที่สูบลง ส่วนใหญ่จะไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้

   การเลิกสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะสูบบุหรี่มานานเท่าใด ไม่ว่าผู้เลิกสูบบุหรี่จะมีอายุมากเท่าไร การเลิกสูบบุหรี่ทันทีจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถึงขนาดเจ็บป่วย จะมีก็แต่อาการหงุดหงิดกระวนกระวายอยากจะสูบบุหรี่


ที่มา http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/disease/cigarette2.html

กลยุทธ์รับมือกับอาการอยากบุหรี่


 ถ่วงเวลาไว้ (Delay)       เมื่ออยากสูบบุหรี่ อย่าเพิ่งเปิดซองบุหรี่หรือ จุดบุหรี่ เมื่อผ่านไป 5 นาทีผ่านไป ความอยากจะลดลง แล้วความตั้งใจของคุณที่จะเลิกก็จะกลับมา
 หายใจลึกๆ ช้า  (Deep breathe) 
     
 
หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ 3 - 4 ครั้ง
 ดื่มน้ำสักแก้ว  (Drink water) 
      
 
ค่อยๆจิบน้ำ และ อมไว้สักครู่ให้รู้รสน้ำแล้วจึงกลืนลงคอ
 เปลี่ยนอิริยาบถ (Do something else) 
       
 
อย่าคิดเรื่องการสูบบุหรี่ เปลี่ยนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นเสีย เช่น ฟังเพลง ไปเดินเล่น หรือ ไปหาเพื่อนฝูง
 
กลยุทธ์เสริม
 เพียงมวนเดียวก็ผลร้าย 
    
 
ขอให้ใจแข็ง การกลับไปสูบบุหรี่แม้เพียงมวนเดียวจะเป็นผลทำให้กลับไปสูบใหม่ คุณต้องต่อสู้กับความอยากให้ได้ การเลิกสูบบุหรี่ คือ การต่อสู้กับความอยาก แม้กระทั่งบุหรี่เพียงมวนเดียว และต่อสู้กับจิตใจของคุณเอง
 อดเป็นวันๆ ไป 
    
 
พยายามตั้งใจให้วันผ่านไปโดยไม่สูบบุหรี่ จำบุหรี่มวนแรกของคุณได้ไหม? บางทีอาจจะทำให้คุณเวียนหัวไม่สบาย ก็ได้ ทำดีต่อร่างกายของคุณให้ปรับสภาพได้โดยไม่ต้องมีนิโคติน
 เครื่องดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มประเภทโคล่า      เหล่านี้มีคาเฟอีน แต่ไม่มีนิโคติน การที่ไม่มีนิโคตินทำให้ร่างกายดูดซึมคาเฟอีน เข้าไปมากกว่าธรรมดา ทำให้กระวนกระวายและนอนไม่หลับ พยายามดื่มกาแฟให้น้อยลง หรือ ให้อ่อนลงหรือดื่มเครื่องดื่มคล้ายกาแฟ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือไดเอ็ดโคล่าที่ไม่คาเฟอีน
 เตือนสติตัวเอง 
    
 
เอาเหตุผลที่เลิกบุหรี่ที่เคยจดไว้ออกมาดู และคิดถึงสิ่งที่อยากทำให้ฐานะผู้ไม่สูบบุหรี่
 ปฏิเสธบุหรี่จากผู้อื่น 
     
 
อย่าเกรงใจเมื่อผู้อื่นให้บุหรี่คุณ คุณมีสิทธิปฏิเสธบุหรี่โดยไม่ทำให้ใครเดือนร้อน
 เมื่อมือว่าง 
     
 
พยายามใช้มือทำโน่นทำนี่อย่าปล่อยให้มือว่าง เอากุญแจมาขยำ หรือนับลูกประคำก็ได้
     การสูบบุหรี่กับสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ มีรายงานการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่จะไม่สามารถต้านทานความอยากสูบบุหรี่ได้เมื่อดื่มเหล้าเข้าไป เหล้าและสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ จะทำให้คุณมีความอดทนต่อความอยากสูบบุหรี่ได้น้อยลง ดังนั้น ขอให้พยายามหลีกเลี่ยง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ สัก 2 - 3 สัปดาห์

ข่าว..ชี้เลิกบุหรี่ภายใน 3 เดือน ชายจะเตะปี๊บดัง สมรรถภาพทางเพศฟื้น


     ปัจจุบันคนไทยสูบบุหรี่ประมาณ 10 ล้านคน เป็นชายอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป 37.2% และหญิงไทย 2.2% มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2-3 แสนคนต่อปี และข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ระบุว่า คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ คน
     บุหรี่ไม่เพียงทำร้ายผู้สูบเท่านั้น แต่ครอบถึงผู้ใกล้ชิดด้วย โดยบุหรี่มีสารนิโคติน ทาร์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนไซยาไนต์ ไนโตรเจนไดออกไซต์ แอมโมเนีย และกัมมันตภาพรังสี เป็นต้น
    บุหรี่ มีสารต่างๆ หลายชนิด แต่สารสำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติดคือ นิโคติน เป็นสารแอลคะลอยด์ที่ไม่มีสี นิโคติน 30 มิลลิกรัมสามารถทำให้คนตายได้ บุหรี่ธรรมดามวนหนึ่งจะมีนิโคตินอยู่ราว 15-20 มิลลิกรัม ก็คือจำนวนนิโคตินในบุหรี่ 2 มวน สามารถทำให้คนตายได้ในทันที แต่การที่สูบบุหรี่ติดต่อกันหลายมวนแล้วไม่ตาย ก็เพราะว่ามีนิโคตินในควันบุหรี่ เป็นส่วนน้อยที่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูบ
    
สารเหล่านี้ทำให้เกิดโรค อาทิ มะเร็งปอด ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด ถุงลมโป่งพอง เส้นโลหิตแดงแข็งตัวและตีบ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง มะเร็งไต มะเร็งริมฝีปาก และมะเร็งหลอดลม
สารประกอบในบุหรี่

บุหรี่มีสารประกอบต่างๆ อยู่ประมาณ 4000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารบางชนิดเป็นอันตรายที่สำคัญ คือ
1. นิโคติน ( Nicotine )
       เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ และเป็นสารที่รุนแรงมากที่สุดอย่างหนึ่ง ละลายน้ำได้ดี ไม่มีสี ถ้าสูบบุหรี่ 1 มวน ร่างกายจะได้รับนิโคตินในควันบุหรี่ 0.2 - 2 มิลลิกรัม หากมีอยู่ในร่างกายถึง 70 มิลลิกรัม จะทำให้ถึงแก่ความตายได้ มีผู้ทดลองนำนิโคตินบริสุทธิ์ เพียง 1 หยด ป้ายลงบนผิวหนังกระต่าย มีผลทำให้กระต่ายตัวนั้นช็อกอย่างรุนแรงและถึงแก่ความตาย แม้จะไม่ได้เข้าสู่ภายในร่างกายทางปากหรือทางลมหายใจ
       นิโคติน จะทำให้ไขมันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง  ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว ทำลายเนื้อปอดและถุงลมปอด  (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ ปริมาณนิโคตินลดลงได้)
2. ทาร์ หรือน้ำมันดิน ( Tar )
      เป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ  ประมาณร้อยละ 90 จะขับออกมาพร้อมลมหายใจเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ในบุหรี่ 1 มวน มีทาร์ในปริมาณต่างกันตั้งแต่ 2.0 มิลลิกรัม จนถึง 3.0 มิลลิกรัม แล้วแต่ชนิดของบุหรี่
     ขณะสูบบุหรี่ 
ร้อยละ 50 ของน้ำมันดิน จะไปจับที่ปอด เกิดระคายเคือง ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ ทาร์จะตกค้างอยู่ในปอด หลอดลมใหญ่ และหลอดลมเล็ก จะทำลายถุงลมปอดทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง หอบเหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งบริเวณเนื้อเยื่อที่สัมผัสกับสารนี้   เช่น มะเร็งปอด, กล่องเสียง, หลอดลม. หลอดอาหาร, ไต, กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆดังนั้น ทาร์ จึงเป็นตัวการทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานมากก่อนเสียชีวิต   
3. คาร์บอนมอนอกไซด์
     ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ เกิดการขาดออกซิเจนทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่ายซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ  
4.  ไฮโดรเจนไซยาไนด์ 
    ก๊าซพิษ ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำโดยเฉพาะตอน เช้า
5.  ไนโตรเจนไดออกไซด์ 
     ก๊าซพิษทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลม ทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพอง ถุงลมเล็กๆ หลายอันแตก รวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
6.  แอมโมเนีย
    มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอมีเสมหะมาก

7.  สารกัมมันตรังสี 
    ควันบุหรี่มีสารโพโลเนียม 210 ที่มีรังสีอัลฟาอยู่ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด
โทษของบุหรี
           
มะเร็งกล่องเสียง                             มะเร็งปอด
โทษของการสูบบุหรี่ มีดังนี้

1. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
2. ฟันเหลือง ตาแดง เล็บเขียว
3. มีกลิ่นตัวและกลิ่นปากรุนแรง
4. เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม
5. เสียเงินจำนวนมากโดยใช่เหตุ
6. ส่งผลร้ายต่อคนรอบข้าง
7. เป็นมะเร็งช่องปาก รวมถึงฟันและลิ้น (ปากเน่าเละเฟะ)
8. เป็นมะเร็งหลอดลมและหลอดอาหาร
9. เป็นมะเร็งกล่องเสียง
10. เป็นมะเร็งปอด (มะเร็ง ที่ทรมานมากที่สุด) มีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 20 เท่า
11. ถุงลมโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ มีผลทำให้หายใจติดขัด หอบ จนถึงตายได้
12. โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
13. โรงตับแข็ง เช่นเดียวกับการดื่มสุรา
14. โรคปริทนต์ (ฟันเน่าเละ)
15. โรคโพรงกระดูกอักเสบ
16. โรคความดันโลหิตสูง
17. ประสาทในการรับรสแย่ลง
18. มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้
บุหรี่ คือ ฆาตกรเงียบ ที่ทำร้ายชีวิตเราโดยไม่รู้ตัว


ควันบุหรี่มีผลต่อบุคคลข้างเคียง
 เด็ก
      ทำให้เด็กในครอบครัวป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูชั้นนอกอักเสบเพิ่มมากขึ้น
 หญิงมีครรภ์ 
      น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติและมีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดระหว่างคลอด และหลังคลอดมากเป็น 2 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ และรกลอกตัว ก่อนกำหนดมากขึ้น ลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหรี่ อาจจะมีน้ำหนักและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางด้าน สมองช้ากว่าปกติ อาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท, ระบบความจำ
 คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่ 
       มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปีคนทั่วไป ควันบุหรี่จะทำให้เกิดอาการเคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะทำให้มีอาการของโรคเพิ่มมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของบุหรี่

                  ประวัติความเป็นมาของบุหรี่
           ชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ได้เริ่มต้นใช้ยาสูบเป็นพวกแรก โดยปลูกยาสูบเพื่อใช้เป็นยาและนำมาสูบในพิธีกรรมต่างๆ ใน พ.ศ. ๒๐๓๕ เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินเรือไปขึ้นฝั่งที่ซันซัลวาดอร์ ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส์นั้น ได้เห็นชาวพื้นเมืองนำเอาใบไม้ชนิดหนึ่งมามวนและจุดไฟตอนปลายแล้วดูดควัน ต่อมา พ.ศ. ๒๐๙๑ มีการปลูกยาสูบในบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในทวีปอเมริกาใต้ เพื่อเป็นสินค้าส่งออก เป็นผลให้ยาสูบแพร่หลายเข้าไปในประเทศโปรตุเกสและสเปนตามลำดับ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๑๐๓ นายฌอง นิโกต์ (Jean Nicot) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศโปรตุเกส ได้ส่งเมล็ดยาสูบมายังราชสำนักฝรั่งเศส ชื่อของนายนิโกต์จึงเป็นที่มาของชื่อสารนิโคติน (Nicotin) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๒๑๐๗ เซอร์จอห์น ฮอคกินส์ (Sir John Hawkins) ได้นำยาสูบเข้าไปในประเทศอังกฤษ และใน พ.ศ. ๒๑๕๕ นายจอห์น รอลฟ์ (John Rolfe) ชาวอังกฤษ ประสบผลสำเร็จในการปลูกยาสูบเชิงพาณิชย์ เป็นครั้งแรก และ ๗ ปีต่อมา ก็ได้ส่งออกผลผลิตไปยังประเทศอาณานิคมเป็นจำนวนมหาศาล  อีก ๒๐๐ ปีต่อมา การทำไร่ยาสูบเชิงพาณิชย์จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก
                 การสูบบุหรี่ในประเทศไทย
           ในประเทศไทยมีการใช้ยาสูบตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว โดยมีหลักฐานจากจดหมายเหตุของ เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur De La Loub�re) อัครราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางมาเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ได้เขียนเล่าเรื่องประเทศสยามว่า คนไทยชอบใช้ยาสูบอย่างฉุนทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยได้ยาสูบมาจากเมืองมะนิลา ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ จากประเทศจีน และที่ปลูกในประเทศเอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ได้ทรงประดิษฐ์บุหรี่ก้นป้านขึ้น เพื่อสูบควันและอมยากับหมากพร้อมกัน ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการผลิตบุหรี่ขึ้นโดยบริษัทที่มีชาวอังกฤษ เป็นเจ้าของได้เปิดดำเนินการเป็นบริษัทแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๐ การผลิตบุหรี่ในระยะแรกจะมวนด้วยมือ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำเครื่องจักรเข้ามาจากประเทศเยอรมนี และทำการผลิตบุหรี่ออกมาจำหน่ายหลายยี่ห้อ การสูบบุหรี่จึงแพร่หลายมากขึ้น จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๔๘๒ รัฐบาลได้จัดตั้งโรงงานยาสูบขึ้น โดยซื้อกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนบูรพายาสูบ จำกัด (สะพานเหลือง) ถนนพระราม ๔ กรุงเทพฯ และดำเนินกิจการอุตสาหกรรมยาสูบภายใต้การควบคุมของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง หลังจากนั้น รัฐบาลได้ซื้อกิจการของบริษัทกวางฮก บริษัทฮอฟฟัน และบริษัทบริติชอเมริกันโทแบกโคเพิ่มขึ้น แล้วรวมกิจการทั้งหมดเข้าด้วยกัน และดำเนินการภายใต้ชื่อว่า โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มาจนถึงปัจจุบัน
ชนิดของยาสูบ

          ยาสูบที่ใช้กันอยู่มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสูด แบบดม แบบอมและเคี้ยว
          - แบบสูด โดยกระทำให้เกิดการเผาไหม้ใบยาสูบซึ่งอยู่ในรูปของบุหรี่ หรือซิการ์ (cigar) ที่ใช้ใบยาสูบมวนผงใบยาสูบอยู่ภายใน หรือไปป์ (pipe) ที่บรรจุใบยาไว้ในกล้องยาสูบ แล้วจุดไฟให้เกิดการเผาไหม้ แล้วผู้สูบสูดควันเข้าสู่ร่างกาย
         - แบบดม โดยบดใบยาสูบให้ละเอียด แล้วผสมในรูปของยานัตถุ์      
         - แบบอมและเคี้ยว โดยนำใบยาสูบแห้งมาหั่นเป็นฝอย นำมาเคี้ยวแล้วอมอยู่ระหว่างริมฝีปากกับเหงือก บางครั้งเรียกว่า บุหรี่ไร้ควัน

           ยาสูบส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีเพื่อปรุงแต่งกลิ่นรส และเพื่อลดความระคายเคือง บุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานจะใช้สารเคมีปรุงแต่งมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีสารเคมีที่ใช้ในการรักษาความชื้นของใบยาสูบ และสารป้องกันเชื้อรา เพื่อให้เก็บบุหรี่ได้นาน รวมทั้งสารเคมีที่ใช้ในการรักษาสภาพกระดาษที่ใช้มวนบุหรี่อีกด้วย
ชนิดของบุหรี่
           บุหรี่มี ๒ ชนิดคือ บุหรี่ที่มวนเอง และบุหรี่ที่ผลิตโดยเครื่องจักร บุหรี่ที่มวนเอง ทำโดยใช้ใบตองแห้ง ใบบัว หรือกระดาษ ที่ใช้มวนห่อใบยาสูบ บุหรี่ชนิดนี้จะดับง่ายเนื่องจากไม่มีการปรุงแต่งสารเคมีที่ช่วยให้ไฟติดทน สำหรับบุหรี่ที่ผลิตโดยเครื่องจักรมี ๒ ชนิด คือ บุหรี่ที่ไม่มีก้นกรอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุหรี่ราคาถูก และ บุหรี่ที่มีก้นกรอง นอกจากนี้ บริษัทบุหรี่ยังผลิตบุหรี่ ชนิดที่เรียกว่า "ไลต์" และ "ไมลด์" โดยระบุไว้ว่าเป็นบุหรี่ชนิดรสอ่อนที่มีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา แต่จากการวิจัยพบว่า บุหรี่ทั้ง ๒ ชนิดมิได้มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาแต่อย่างใด เพียงแต่ต่างกันที่รสชาติเท่านั้น และบุหรี่ชนิดที่มีก้นกรองจะสามารถกรองละอองสารที่มีขนาดใหญ่ได้บางชนิดเท่านั้น โดยสารทาร์และนิโคตินซึ่งมีขนาดเล็กยังคงผ่านเข้าไปได้ในปริมาณเดียวกับการสูบบุรี่ที่ไม่มีก้นกรอง





ที่มา  guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q

บุหรี่

บุหรี่
 
บุหรี่ มีสารต่างๆ หลายชนิด แต่สารสำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติดคือ นิโคติน เป็นสารแอลคะลอยด์ที่ไม่มีสี นิโคติน 30 มิลลิกรัมสามารถทำให้คนตายได้ บุหรี่ธรรมดามวนหนึ่งจะมีนิโคตินอยู่ราว 15-20 มิลลิกรัม ก็คือจำนวนนิโคตินในบุหรี่ 2 มวน สามารถทำให้คนตายได้ในทันที แต่การที่สูบบุหรี่ติดต่อกันหลายมวนแล้วไม่ตาย ก็เพราะว่ามีนิโคตินในควันบุหรี่ เป็นส่วนน้อยที่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูบ

สาเหตุของการติดบุหรี่
1 ) ทำตามเพื่อน เพราะเห็นเพื่อน ๆ บางคนสูบโดยอ้างว่าเพื่อจะเข้าสังคมกับเพื่อนได้
2) สภาพแวดล้อมภายในครอบครัวชักนำ เกิดจากสมาชิกบางคนในครอบครัวสูบบุหรี่ เช่น พ่อ แม่ ลุง น้า จึงต้องการเอาอย่างบ้าง 3 ความอยากทดลอง เพราะอยากรู้อยากเห็น
4ื ) ยึดถือค่านิยมผิด ๆ คิดว่าการสูบบุหรี่เป็นการโก้เก๋ หรือเป็นลูกผู้ชาย
5 ) อิทธิพลจากการโฆษณาของสื่อมวลชน ทั้งจากภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
6) ความเชื้อที่ผิดๆ เช่น เชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่จะทำให้สมองปลอดโปร่ง จิตใจเเจ่มใสและไม่ง่วงนอน เป็นต้น

 พิษจากควันบุหรี่
1 . นิโคติน ( Nicotine ) เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ และเป็นสารที่รุนแรงมากที่สุดอย่างหนึ่ง ละลายน้ำได้ดี ไม่มีสี ถ้าสูบบุหรี่ 1 มวน ร่างกายจะได้รับนิโคตินในควันบุหรี่ 0.2 - 2 มิลลิกรัม หากมีอยู่ในร่างกายถึง 70 มิลลิกรัม จะทำให้ถึงแก่ความตายได้ มีผู้ทดลองนำนิโคตินบริสุทธิ์ เพียง 1 หยด ป้ายลงบนผิวหนังกระต่าย มีผลทำให้กระต่ายตัวนั้นช็อกอย่างรุนแรงและถึงแก่ความตาย แม้จะไม่ได้เข้าสู่ภายในร่างกายทางปากหรือทางลมหายใจ
นิโคติน จะทำให้ไขมันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง ทำให้ความดันสูง หัวใจเต้นเร็วทำลายเนื้อปอดและถุงลมปอดอีกด้วย
2 . ทาร์ ( Tar ) เป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ จะทำลายถุงลมปอดทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง หอบเหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งบริเวณเนื้อเยื่อที่สัมผัสกับสารนี้ ขณะสูบบุหรี่ ทาร์จะตกค้างอยู่ในปอด หลอดลมใหญ่ และหลอดลมเล็ก ประมาณร้อยละ 90 จะขับออกมาพร้อมลมหายใจเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ดังนั้น ทาร์ จึงเป็นตัวการทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานมากก่อนเสียชีวิต ในบุหรี่ 1 มวน มีทาร์ในปริมาณต่างกันตั้งแต่ 2.0 มิลลิกรัม จนถึง 3.0 มิลลิกรัม แล้วแต่ชนิดของบุหรี่




 โทษของบุหรี่
1 . โรคมะเร็ง ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มะเร็งที่ปาก ที่ลิ้น ที่กล่องเสียง แต่ที่เป็นมากที่สุดคือ มะเร็งปอด สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา และกระทรวงสาธารณสุขแห่งสหรัฐอเมริกาได้รายงานผลวิจัย เมื่อ พ.ศ. 2521 ว่าผู้ที่สูบบุหรี่จัด มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า
2 . โรคทางเดินหายใจ ผู้สูบบุหรี่จัดมีอาการไอเรื้อรัง บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้ แต่เมื่อหยุดสูบอาการจะบรรเทาและหายไปในที่สุด นอกจากนี้ทาร์ในควันบุหรี่จะสะสมอยู่ในปอด วันละเล็กวันละน้อย จนในที่สุดถุงลมปอดโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ มีผลทำให้ปอดไม่สามารถแรกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนได้มากเท่าเดิมจึงทำให้หายใจขัด หอบ และหากเป็นเรื้อรังอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ง่ายเช่นเดียวกันนอกจากนี้ยังพบว่าการสูบบุหรี่ทำให้เป็นโรคอื่นได้อีกหลายอย่าง เช่น โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคความดันเลือดสูง โรคตับแข็ง โรคปริทนต์ โรคโพรงกระดูกอักเสบ เป็นต้น และยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของผู้สูบบุหรี่อีกด้วย


 ข้อดีของการเลิกบุหรี่
1 . สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น
2 . อายุยืน
3 . การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
4 . การทำงานของประสาทในการรับรส และกลิ่นดีขึ้น
5 . อาการไอ และเสมหะลดลง
6 . สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น
7 . ปอดทำงานได้ดีขึ้น
8 . ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น
ที่มา

http://dpc9.ddc.moph.go.th/group/ncd/TOBAC%2520ALC/bure.htm

บุหรี่ไม่ตายแต่ทรมาน

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โอ๊ะโอ!!!!!!!!!.เด็ก 2 ขวบติดบุหรี่......

จริงหรือไม่....??? คนไทยกำลังตกเป็นทาสของบุหรี่!!!!!

          บุหรี่เป็นสิ่งที่ไม่ดีก่อให้เกิดโทษหลายอย่าง การสูบบุหรี่และยาสูบ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทีเราสามารถป้องกันได้ การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งปอด(ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่) นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของโรคปอดอื่น ๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง  หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ผู้สูบบุหรี่อาจดูแก่กว่าปกติเนื่องจากควันบุหรี่จะเพิ่มรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง
           ปัจจุบันพบว่าคนไทยมีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการทั้งเรื่องของเพศ วัย อายุ และเศรษฐกิจที่ผันผวน และยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้คนสูบบุหรี่เกิดจากความอยากลอง เยาวชนที่สูบบุหรี่ร้อยละ 38.4 เริ่มสูบบุหรี่เพราะความอยากลอง ซึ่งเป็นธรรมชาติของวัยรุ่นที่มีความอยากลองเป็นเรื่องที่ท้าทาย น่าตื่นเต้น และสนุกสนาน ถึงแม้จะทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ตาม และสำหรับวัยรุ่นเพื่อนเป็นคนที่สำคัญมากคนหนึ่งทำให้วัยรุ่นส่วนมากชอบ ตามอย่างเพื่อน เยาวชนที่สูบบุหรี่ร้อยละ 35.9 เริ่มสูบบุหรี่เพราะเพื่อนชวน บางคนมีทัศนะคติที่ว่า ถ้าไม่สูบบุหรี่จะเข้ากับเพื่อนไม่ได้ เพื่อนจะไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม และหลายคนไม่กล้าเลิกสูบบุหรี่ เพราะกลัวเพื่อนจะล้อเลียน และไม่ให้เข้ากลุ่ม พฤติกรรมการสูบบุหรี่สาเหตุอีกอย่างหนึ่งก็มาจากคนในบ้าน เมื่อมีคนในบ้านไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดา หรือญาติพี่น้อง ซึ่งอยู่บ้านเดียวกันสูบบุหรี่ หลายคนจะสูบบุหรี่ เพราะเห็นการสูบในบ้านมาแต่เด็กจึงคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา  ส่วนผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยทำงานหรือหัวหน้าครอบครัวที่สูบบุหรี่เนื่องจากเพื่อเข้าสังคม บางคนต้องสูบบุหรี่เพราะหน้าที่การงานที่ต้องเข้าสังคม งานเลี้ยงสังสรรค์หรืองานเลี้ยงรับรอง ซึ่งมีผู้สูบ ในสังคมนั้นๆ เชิญชวนให้สูบ บางคนจะสูบเฉพาะในงานสังคมเท่านั้น นอกจากนี้คนที่สูบบุหรี่เพราะความเครียดส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยทำงาน งานกรรมกร งานขับรถส่งสินค้าไกลๆและคนที่ชอบเล่นกีฬาหนัก คนที่ชอบวิตกกังวล คิดมากบุคคลประเภทนี้ก็จะมีความเชื่อว่าสูบบุหรี่แล้วจะทำให้หายเครียดเนื่องจากบุหรี่มีสารนิโคตินในควันบุหรี่เมื่อสูดเข้าร่างกายจะเข้าสู่สมองภายในเวลา 8-10 วินาที ซึ่งออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดแดงหดรัดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น หายใจเร็วขึ้น และกระตุ้นสมองส่วนกลางทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ในระยะต้น หลายคนจึงสูบบุหรี่ด้วยเหตุผลเพื่อคลายความเครียด แต่เมื่อปริมาณนิโคตินในสมองลดลง จะทำให้ผู้สูบเกิดอาการหงุดหงิด และเครียดได้ในเวลาต่อมา และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ต้องสูบบุหรี่อยู่เสมอเพื่อคงระดับสารนิโคตินไว้ในร่างกาย และสาเหตุอีกอย่างมาจากกระแสของสื่อโฆษณา หรือสื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมล้วนมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนอย่างมาก สามารถก่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะเชื่อและนิยมชมชอบในผลิตภัณฑ์ที่โฆษณา ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายห้ามการโฆษณาบุหรี่ แต่บางประเทศที่ไม่มีกฎหมายห้ามก็มีการโฆษณาทุกรูปแบบ ซึ่งเผยแพร่ไปทั่วโลกตามการสื่อสารไร้พรมแดน ในปัจจุบันเยาวชนสามารถรับรู้สื่อโฆษณาบุหรี่ของต่างประเทศได้ทั้งทางหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ ทาง วิทยุและโทรทัศน์ นอกจากนี้ กลยุทธ์ในการโฆษณาแฝงของอุตสาหกรรมบุหรี่ที่หลีกเลี่ยงกฎหมายก็มี อายุเฉลี่ยของคนไทยที่ติดบุหรี่คือ 18 ปี


            จากการสำรวจข้อมูลของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นที่สูบบุหรี่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำแนกตามเพศ และกลุ่มอายุ ในปี พ..2550 และ2552

ตารางแสดงจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่ จำแนกตามเพศ และกลุ่มอายุ พ..2550 และ2552

พฤติกรรมการสูบบุหรี่
..2550
..2552
รวม
ชาย
หญิง
รวม
ชาย
หญิง
การสูบบุหรี่
51,166.9
24,812.7
26,354.1
52,678.2
25,604.8
27,073.4
ไม่เคยสูบ
36,914.1
11,322.2
25,591.9
37,008.0
10,798.0
26,210.8
ไม่สูบแต่เคยสูบ
3,395.0
3,143.0
252.0
4,757.1
4,439.1
317.9
สูบ
10,857.8
10,347.6
510.2
10,905.2
10,360.6
544.6
15-24ปี
1,605.2
1,585.6
19.6
1671.2
1,645.2
26.0
25-59ปี
7,952.4
7,601.9
350.5
7,964.3
7,606.9
357.4
60ปีขึ้นไป
1,300.2
1,160.1
140.1
1,269.7
1,108.5
161.2


         2.ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุประมาณ 15 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนมากทั้งเพศชายและเพศหญิง จากการสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ..2550 และปี2552โดยจำแนกตามเพศและช่วงอายุ
        2.1 สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทยในปี พ..2550 มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด 10,857.8 คน แบ่งตามช่วงอายุ15-24 ปี จำนวน 1,605.2 คน หรือคิดเป็น15% ช่วงอายุ25-59ปี จำนวน 7,952.4 คน หรือคิดเป็น73% และ ช่วงอายุ 60ขึ้นไป จำนวน 1,300.2 คน หรือคิดเป็น 12% จากข้อมูลช่วงอายุ 25-59ปีมีจำนวนคนที่สูบบุหรี่มากที่สุด เนื่องจากอยู่ในช่วงของวัยทำงาน


                          2.2 สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทยในปี พ..2552 มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด 10,905.2 คน แบ่งตามช่วงอายุ15-24 ปี จำนวน 1,671.2 คน หรือคิดเป็น15% ช่วงอายุ25-59ปี จำนวน 7,964.3 คน หรือคิดเป็น73% และ ช่วงอายุ 60ขึ้นไป จำนวน 1,269.7 คน หรือคิดเป็น 12% จากตัวเลขจำนวนประชากรพบว่าจากการสำรวจในปี พ..2552 มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้น


2.3   จำนวนประชากรที่สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 15ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศ ปี 2550 และปี2552 เพศชายมีจำนวนคนที่สูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง ปี 2550 มีจำนวนผู้สูบุหรี่แบ่งเป็นชาย จำนวน 10,347.6 คน หญิง จำนวน 510.2 คน และปี2552 มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด10,905.2 คนแบ่งเป็นชาย จำนวน 10,360.6 คน หญิงจำนวน 544 คนจากข้อมูลเบื้องต้นทำให้ทราบว่าเพศชายมีอัตราการสูบบุหรี่มากกว่าเพศหญิงเนื่องมาจากเพศชายเป็นเพศที่ใช้แรงงานหนักจนทำให้เกิดความเครียดในเรื่องของการทำงานจึงใช้บุหรี่เป็นตัวช่วยในการคลายเครียดและในวัยรุ่นก็จะสูบบุหรี่เพราะความอยากรู้อยากลอง คิดว่าเท่ ทำตามเพื่อนกลัวเพื่อนไม่ให้เข้ากลุ่มด้วย ก็เลยต้องสูบบุหรี่

        กราฟแสดงจำนวนประชากรที่สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ15ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศ ปี 2550 และปี2552                                     
                                จำนวนคนที่สูบบุหรี่

                 
      2.4  สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทยในปี พ..2550 มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด 10,857.8 คน แบ่งตามช่วงอายุ15-24 ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,605.2 คน ชายจำนวน1,585.6 คน หญิงจำนวน19.6 คน ช่วงอายุ25-59ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 7,952.4 คน ชายจำนวน7,601.9 คน หญิงจำนวน 350.5 คน และ ช่วงอายุ 60ขึ้นไป รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,300.2 คน ชายจำนวน 1,160.1 คน หญิงจำนวน140.1 คน  จากข้อมูล เพศชายมีจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง และสูงสุดในช่วงอายุ 25-59ปี มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่มากที่สุด   

                                               กราฟแสดงการสูบบุหรี่ จำแนกตามเพศและช่วงอายุ ปี 2550    
                                       จำนวนคนที่สูบบุหรี่

      2.5 จากสถิติการสูบบุหรี่ของคนไทยในปี พ..2552 มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด 10,905.2 คน แบ่งตามช่วงอายุ15-24 ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,671.2 คน ชายจำนวน1,645.2 คน หญิงจำนวน26.0คน ช่วงอายุ25-59ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 7,952.4 คน ชายจำนวน7,606.9คน หญิงจำนวน 357.4 คน และ ช่วงอายุ 60ขึ้นไป รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,269.7 คน ชายจำนวน 1,108.5คน หญิงจำนวน161.2 คน  จากข้อมูล เพศชายมีจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง และสูงสุดในช่วงอายุ 25-59ปี มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่มากที่สุด 

                                        
                                                          กราฟแสดงการสูบบุหรี่ จำแนกตามเพศแลช่วงอายุ ปี 2552
          
                      
                           จำนวนคนที่สูบบุหรี่
  


สรุป
         จากการสำรวจข้อมูลทางสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่ จำแนกตามเพศ และกลุ่มอายุในปี พ..2550 และ พ..2552 พบว่าประชากรในช่วงอายุ 24-59ปี มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่สูบบุหรี่สูงที่สุด คิดเป็น 73%  รองลงมาก็จะเป็นช่วงอายุ 15-24ปี คิดเป็น15% และช่วงอายุ60ปีขึ้นไปมีจำนวนคนที่สูบบุหรี่น้อยที่สุด คิดเป็น12% และเพศที่มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่มากที่สุดคือเพศชาย ช่วงอายุ24-59ปี รองลงมาคือเพศชายช่วงอายุ 15-24ปี และอันดับสุดท้ายคือเพศชายช่วงอายุ 60ปีขึ้นไปและในเพศหญิงที่มีจำนวนคนที่สูบบุหรี่มากที่สุดคือช่วงอายุ 24-59ปี และน้อยที่สุดคือช่วงอายุ15-24ปี สาเหตุที่ทำให้คนสูบบุหรี่เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการทั้งเพศ วัยและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ส่วนใหญ่ในวัยรุ่นเพราะความอยากรู้อยากรอง ทำตามเพื่อนหรือเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม เลียนแบบพฤติกรรมคนในครอบครัว คิดว่าเท่ กลัวเพื่อนไม่ให้เข้ากลุ่ม มีความเครียดเรื่องเรียน เรื่องที่บ้าน ความรัก และมาจากสื่อโฆษณา ส่วนวัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงานสูบบุหรี่เพื่อเข้าสังคม เพื่อคลายความเครียด เรื่องงาน เรื่องครอบครัว
                                                                อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง